วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ห่วงโจ๋มุสลิมเชื่อไวน์ฮาลาล เหตุน้ำผลไม้ขวดคล้ายขายเกลื่อนปัตตานี

ยารีนา กาสอ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้บรรจุขวดที่มีลักษณะเหมือนขวดไวน์หลากหลายรูปแบบ วางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม โดยมีการเรียกติดปากว่าไวน์ฮาลาล ซึ่งเป็นที่นิยมดื่มในหมู่วันรุ่นมุสลิม ขณะที่ผู้นำศาสนาอิสลามแสดงความเป็นห่วงว่า อาจส่งผลให้เยาวชนมุสลิมเข้าใจผิดว่า ไวน์ซึ่งเป็นเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์สามารถดื่มได้ เพราะมีลักษณะขวดคล้ายกัน


นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการฮาลาล ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่ทำบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้คล้ายขวดไวน์วางจำหน่าย โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอม ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นเข้าใจผิดคิดว่า ไวน์หรือเครื่องดื่มมึนเมาอื่นๆ ชาวมุสลิมสามารถดื่มได้โดยไม่ขัดหลักการศาสนาอิสลาม เพราะมีรูปแบบขวดเครื่องดื่มคล้ายคลึงกัน

นายอับดุลมานะเผยต่อด้วยว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการฮาลาล ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ทำได้มีเพียงการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล(การอนุมัติในหลักศาสนาอิสลาม)ที่ผลิตในจังหวัด หากมีรายงานว่ามีการใช้เครื่องหมายฮาลาลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมีสารที่ผิดหลักการอิสลามปนเปื้อน ฝ่ายกิจการฮาลาลจะเข้าไปตรวจสอบทันที และจะประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุหรือส่งเอกสารเร่งด่วนไปยังผู้นำศาสนาทั่วจังหวัดแจ้งให้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ฮาลาล พร้อมทั้งแจ้งไปยังจังหวัดอื่นๆ ด้วย แต่สินค้าบางชนิดก็ควบคุมตรวจสอบไม่ได้ เพราะเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

“การนำเข้าเครื่องดื่มน้ำผลไม้จากต่างประเทศ เป็นเรื่องธุรกิจมากกว่า โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักศาสนาอิสลาม ว่าเป็นเครื่องดื่มที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ ถือเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะสังคมมุสลิม การทำรูปแบบขวดที่เหมือนขวดไวน์ ทำให้ฉุกคิดไม่ได้ว่า เครื่องดื่มชนิดนั้นมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ด้วย” นายอับดุลมานะ กล่าว

“การจะทราบว่าเครื่องดื่มชนิดใดที่ชาวมุสลิมสามารถบริโภคได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบว่า เครื่องดื่มชนิดนั้นๆ ผ่านกระบวนการหมักที่ก่อให้เกิดเป็นเชื้อจุลินทรีย์เหมือนแอลกอฮอล์หรือไม่ ซึ่งต้องใช้หลักเหตุผลประกอบว่า ถูกต้องตามหลักอิสลามและคนอิสลามสามารถดื่มได้หรือไม่” นายอับดุลมานะ กล่าว

นายอับดุลมานะ กล่าวว่า การทำบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มผลไม้ขวดคล้ายไวน์นั้น เป็นชุบุฮาต หรือสิ่งคลุมเครือ เคลือบแคลง สงสัย คล้ายๆ เป็นปัญหาที่ไม่รู้ว่าฮาลาลหรือฮะรอม(ตรงข้ามกับฮาลาล หมายถึงไม่อนุมัติในทางหลักศาสนาอิสลาม) จึงจำเป็นต้องรอการฟัตวา หรือ การวินิจฉัยของนักปราชญ์ทางศาสนาอิสลามก่อนว่า สินค้าชนิดนั้นไม่มีสารปนเปื้อนที่ผิดหลักอิสลามและสามารถบริโภคได้ และวินิจฉัยด้วยว่า การทำบรรจุภัณฑ์คล้ายบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มมึนเมานั้น ผิดหลักศาสนาด้วยหรือไม่

ขวดเหมือนไวน์

เจ้าของร้านค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ตนซื้อน้ำผลไม้ที่มีรูปแบบขวดลักษณะเหมือนขวดไวน์แถวด่านชายแดนไทย – มาเลเซีย จังหวัดสงขลา โดยเลือกซื้อน้ำผลไม้คละแบบ หลากรสชาติและสีสันแต่ละครั้งในปริมาณมาก เพื่อนำมาทำน้ำผลไม้ปั่นขาย ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นที่ชอบดื่มน้ำผลไม้ที่มีความแปลกใหม่

เจ้าของร้านค้าคนเดิม เปิดเผยว่า ตนไม่ทราบว่าในจังหวัดปัตตานีมีน้ำผลไม้ประเภทนี้ขายที่ใดบ้าง เนื่องจากตนไม่ได้ขายเป็นขวด แต่นำมาทำน้ำผลไม้ปั่น และไม่ได้ทำเป็นธุรกิจขายตรง

“น้ำผลไม้ประเภทนี้ คิดว่ามุสลิมดื่มได้ เพราะมีตราสัญลักษณ์ฮาลาลปรากฎข้างขวด ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ไม่น่าจะผิดหลักศาสนาอิสลาม เพียงแต่มีลักษณะขวดคล้ายลักษณะขวดไวน์เท่านั้น” เจ้าของร้านค้าคนเดิม กล่าว

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Dubes Saudi untuk Mesir Bantah Negaranya Danai Salafi dan Ikhwan

BERITA DUNIA
Rabu, 03/08/2011

Duta Besar Arab Saudi untuk Mesir, Ahmad Abdul Aziz Qatan, membantah laporan dari saluran berita TV Al-Arabiya pada Selasa kemarin (2/8) bahwa kerajaan Saudi mendanai gerakan Salafi Mesir, menambahkan bahwa klaim tersebut dapat mengakibatkan adaya perselisihan sektarian. Qatan juga bersikeras bahwa kerajaan Saudi sama sekali tidak memiliki link dengan jamaah Ikhwanul Muslimin.

"Bagaimana bisa Arab Saudi menghabiskan 40 miliar riyal Saudi [sekitar 10 miliar dolar] di Mesir tanpa ada penghitungan dan pengawasan?" tanya Qatan. Dia menambahkan bahwa setiap uang yang diberikan oleh Arab Saudi ke Mesir berjalan melalui jalur hukum yang sah.

Duta besar yang berbasis di Kairo ini juga membantah bahwa Arab Saudi bermaksud untuk menarik investasi dari Mesir. Qatan mengatakan bahwa rumor tersebut bertujuan menciptakan ketegangan antara kedua negara.

Selanjutnya, ia menegaskan bahwa Arab Saudi tidak melakukan langkah apa pun untuk mempengaruhi persidangan Mubarak atau revolusi di Mesir, menambahkan bahwa rakyat Mesir sendiri lah yang mampu untuk memulai sebuah revolusi.

Rusia Menjalin Hubungan dengan Ikhwanul Muslimin Mesir

BERITA DUNIA :
Rabu, 03/08/2011




Rusia telah menjalin kontak langsung dengan Ikhwanul Muslimin, salah satu kekuatan politik yang paling berpengaruh di Mesir pasca-revolusi yang berhasil menggulingkan Hosni Mubarak, kata kepala Departemen Kementerian Luar Negeri Timur Tengah dan Afrika Utara Sergey Vershinin Selasa kemarin (2/8), media Rusia melaporkan.

Kantor berita Rusia RIA Novosti mengutip pernyataan Verhinin yang mengatakan bahwa dia melihat tidak ada masalah untuk melakukan kontak dengan salah satu kekuatan politik utama di Mesir.

"Saya tidak tahu mengapa negara kita tidak dapat memiliki kontak dengan kekuatan-kekuatan yang dominan dalam politik hukum Mesir," kata Vershinin. Ia mengatakan Rusia telah menjalin hubungan dengan partai Kebebasan dan Keadilan, yang mewakili jamaah Ikhwanul Muslimin dalam kehidupan politik Mesir.

Media Rusia mencatat bahwa banyak pengamat di Rusia berharap partai Ikhwan, partai Kebebasan dan Keadialn bisa mencapai keberhasilan dalam pemilihan parlemen yang dijadwalkan akan diselenggarakan di Mesir pada bulan November mendatang.

Ikhwanul Muslimin sendiri dianggap sebagai organisasi teroris oleh banyak negara. Federasi hukum Rusia melarang cabang-cabang organisasi Ikhwan yang akan didirikan di negara ini.

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Menteri Kehakiman: Mubarak akan Diadili di Akademi Polisi di Kairo


Sidang terhadap mantan Presiden Hosni Mubarak akan diadakan di Akademi Polisi di timur laut Kairo, menteri kehakiman Mesir mengatakan Sabtu kemarin (30/7).

Menteri Muhamed al-Guindi menyatakan bahwa persidangan akan dikoordinasikan dengan menteri dalam negeri untuk mengamankan persidangan dan mengatur masuknya pengacara, media dan keluarga mereka yang tewas dalam revolusi, menurut situs milik pemerintah Al-Ahram.

Mubarak direncanakan akan menghadapi persidangan pada tanggal 3 Agustus mendatang untuk tuduhan korupsi dan memerintahkan pembunuhan demonstran selama revolusi 25 Januari, di mana 850 orang tewas.

Kedua putra Mubarak, juga akan diadili hari itu, bersama dengan mantan Menteri Dalam Negeri Habib al-Adly dan enam pembantunya.

Pebisnis Hussein Salem akan diadili secara in absentia atas tuduhan pemborosan dana publik.

Guindi mengatakan pihak berwenang memindahkan lokasi persidangan dari Nasr City untuk alasan keamanan dan menolak rencana untuk mengadakan sidang di Sharm el-Sheikh

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

‘ญี่ปุ่น–ไต้หวัน’คู่แข่งฮาลาลไทย ตั้งเป้าลุยลูกค้ามุสลิมจีน–อินเดีย

Thu, 2011-07-28
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ที่หอประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์ฮาลาล อุตสาหกรรมและธุรกิจ (WHASIB 2011) และงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ฮาลาลสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT–GT HAPEX 2011) โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



ดร.วินัย ดะห์ลัน

ดร.วินัย ดะห์ลัน ประธานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (HSC–CU) กล่าวในการสัมมนาว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีคู่แข่งในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่น่ากลัวคือ ประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน ทั้งสองประเทศได้เตรียมพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล เน้นลูกค้าในประเทศมยักษ์ใหญ่ที่มีประชากรนมุสลิมจำนวนมาก เช่น จีน อินเดีย และประเทศพัฒนาแล้วไทยจะเสียเปรียบในการผลิตอาหารฮาลาลแข่งกับญี่ปุ่นและไต้หวัน เพราะทั้ง 2 ประเทศนี้ มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสูงกว่าไทย

ดร.วินัย กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในกับดักของคำว่าประเทศที่มีรายได้ขนาดกลาง แต่ศักยภาพในการแข่งขันน้อยกว่าประเทศในกลุ่มเดียวกัน เพราะความด้อยกว่าในด้านเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับประเทศ ญี่ปุ่น ยุโรป สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน และประเทศไทย และยังเตรียมเพิ่มศักยภาพในประเทศแถบอินเดีย บังกลาเทศ มองว่าเป็นแหล่งการค้าสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมฮาลาล

“ไต้หวันและญี่ปุ่นได้เชื่อมต่อกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทย เพื่อเตรียมสร้างอุตสาหกรรมฮาลาลในสองประเทศนี้ โดยเชิญตัวแทนของประเทศไทย ไปร่วมตรวจสอบความพร้อมของการเป็นประเทศอุตสาหกรรมฮาลาล” ดร.วินัยดะห์ลัน กล่าว

ดร.วินัย ยังกล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นและไต้วันต่างเป็นห่วงอนาคตเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ได้เสียตำแหน่งการส่งออกให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนไปแล้ว และกำลังจะเสียให้กับประเทศเกาหลีใต้ จึงกังวลว่าจะเสียลูกค้าในตลาดโลก สิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นหวังในอนาคตคือ การรักษาตลาดอาหาร ในแง่ความมั่นคงด้านอาหาร จึงเล็งเห็นโอกาสมหาศาลในตลาดมุสลิม ลูกค้าที่สองประเทศเล็งเห็นเพื่อเป็นตลาดในอนาคตคือ มุสลิมในประเทศอินเดีย และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และมุสลิมในประเทศที่เจริญแล้ว

“MAHADAE MOHAMMAD นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ระหว่างปี 1981–2003 เคยนำเสนอว่า การมองอนาคตเพื่อการพัฒนาควรจะมองด้วยสายตาปกติ ในวงการเวชกรรมมุสลิมละเลยการพัฒนายาเพื่อมุสลิม ทำให้ต้องใช้ยาที่ฮารอม อย่างการฉีดวัคซีนจากหมูก่อนไปทำฮัจย์ นี่คือ FARDU KIFAYAH ของเภสัชกร ที่ต้องทำงานเพื่อลบล้างเรื่องนี้ให้ได้” ดร.วินัย กล่าว

ดร.วินัย กล่าวต่อไปว่า ในศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีการพัฒนาด้านนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล เพื่อการปฏิบัติการทดสอบอาหารฮาลาล เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความยุ่งยากในการตรวจสอบอาหารของชาวมุสลิมว่า ฮาลาลหรือใหม่ ในกระบวนการตรวจสอบ จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถสร้างความกระจ่างได้ ถึงแม้ว่าอาหารนั้นจะไม่มีส่วนผสมที่เป็นฮารอม หรือสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาก็ตาม แต่ความไม่ฮาลาลยังหมายรวมถึงการปนเปื้อนเชื้อโรคด้วย

ดร.วินัย กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลมีการคิดค้นระบบเพื่อการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮาลาล โดยจัดการข้อมูลผ่านระบบดิจิตอล ให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของตราฮาลาลได้ โดยการแสกนรหัสผ่านมือถือ เชื่อมต่อระบบกับฐานข้อมูล สามารถตรวจสอบแบบทวนลูกศรได้ ระบบนี้คือ S.I.L.K หรือ sariah compliant ICT Logistics control เป็นระบบที่เปลี่ยนจากระบบเอกสารเป็นระบบดิจิตอล นวัตกรรมที่คิดค้นเพื่อการตรวจสอบตราอาหารฮาลาล สร้างขึ้นมารองรับการแข่งขันกับโลกตะวันตก จึงต้องพร้อมที่จะแข่งขันด้านเทคโนโลยีด้วย

นายสว่างพงศ์ หมวดเพชร ผู้ดูแลระบบ HOST academy ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล กล่าวต่อที่สัมมนาว่า ในหลายประเทศพยายามสร้างและพัฒนาระบบการตรวจสอบเครื่องหมายฮาลาลออนไลน์ (halal checking online) เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มาจากต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยกำลังเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศผ่านระบบนี้อยู่ โดยเฉพาะประกาศนียบัตรที่ยืนยันความฮาลาลที่ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศด้วย

ดร.ซาและห์ ตาลิบ อาจารย์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา นำเสนอต่อที่ประชุมว่า ประชากรมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 2.15 ล้านคน ยังมีความคิดความเชื่อที่ยังคงความเป็นมุสลิมมลายูได้ดี เพราะไม่ผ่านการกรอบความคิดจากประเทศมหาอำนาจ ที่เข้ามาเปลี่ยนค่านิยมของประชากรในแถบนี้ ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาลมากนัก

ดร.ซาและห์ กล่าวว่า สถานบริการอาหารในประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับอาหารฮาลาล ทำให้มุสลิมมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ไว้วางใจ จึงไม่รับประทานอาหารในโรงอาหารของคนต่างศาสนิก ต่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประเทศอื่น ที่มีการรับประกันฮาลาลชัดเจน สามารถรับประทานได้ แม้จะเป็นอาหารในโรงอาหารของคนต่างศาสนิกก็ตาม

ดร.ซาและห์ กล่าวอีกว่า มุสลิมใน 3 จังหวดชายแดนภาคใต้ สามารถเป็นหน่วยผลิตอาหารหรือโรงงานอาหารฮาลาลสำหรับตลาดโลกได้ และยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง Suwannabhuma countries หมายถึงประเทศไทยตอนบน ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และ melayu winisula ซึ่งหมายถึง มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ เป็นต้น ตรงนี้คือโอกาสของประเทศไทย
Faqir Muammad Anjur ตัวแทนองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) จากประเทศปากีสถาน กล่าวต่อที่สัมมนาว่า นิยามของอาหารฮาลาลต้องเป็นอาหารที่ปลอดจากการปนเปื้น ตั้งแต่ในระดับของยีน ซึ่งในประเทศตะวันตกมีพัฒนาการด้านการตัดแต่งยีนสูงมาก การใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์จึงต้องสูงขึ้น OIC ต้องมีความเข้มแข็งในการวิจัย เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์อย่างการตัดแต่งยีน ต้องแน่ใจว่า ไม่มีการปนเปื้อนจากยีนของหมู อย่างที่เคยตรวจเจอในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกฮาลาลในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปนเปื้อนยีนสัตว์ฮารอม อย่างหมูมาแล้ว

Prof. Dr.Veni Hadju นักวิชาการจากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารฮาลาลในประเทศอินโดนีเซียต่อที่สัมมนาว่า ถึงแม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีประชามุสลิมมากที่สุด แต่ความจริงรัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ฮาลาลเท่าที่ควร มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตราฮาลาลเพียง 10% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเกือบ 3,000 รายการ ทั้งที่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย ต้องการสินค้าที่มีเครื่องหมายฮาลาล

Prof. Dr.Veni Hadju กล่าวอีกว่า อินโดนีเซียเคยมีเรื่องราวใหญ่โต เมื่อมีตรวจสอบพบว่า อาหารที่ได้รับตราฮาลาลมีไขมันหมู ประเด็นนี้สร้างความโกรธแค้น จนคนทั้งประเทศลุกขึ้นมาประท้วง เจ้าของกิจการต้องจ่ายเงินร้อยล้านรูเปีย เพื่อให้สื่อกลบเกลื่อนเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจเจอไขมันหมูคือ สบู่ ยาสีฟัน และนม เป็นต้น ส่งผลชาวอินโดนีเซียลังเลที่จะซื้อสินค้า จนเกิดตรวจสอบสินค้าอย่างหนัก

“ถึงแม้ว่าชาวอินโดนีเซียจะมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก แต่ก็ไม่ได้ตระหนักในเครื่องหมายฮาลาลมากนัก จะมีกระแสประท้วงบ้างในช่วงที่มีการนำเสนอข้อมูลว่า พบการปนเปื้อนในอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีหมูปนเปื้อน” Prof. Dr.Veni Hadju กล่าว

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวเปิดงานว่า อุตสาหกรรมฮาลาลต้องไปได้ไกลกว่าที่ผ่านมา กลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องร่วมกันผลักดันให้เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของมุสลิมอย่างเดียว เพราะเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงมุสลิมเท่านั้น ในอัลกุรอานระบุ “โอ้มนุษย์เอ๋ย จงบริโภคบนหน้าแผ่นดิน จากสิ่งที่เป็นอนุมัติและดี” (อัลบากอเราะห์ อายะห์ 168) สำหรับอาหารที่ดีและปลอดภัยภายใต้หลักคิด HALALAN TOYYIBAN ในความหมายของอิสลามก็คือ อาหารปลอดจากเชื้อที่ไม่ได้รับอนุญาตและดีที่สุด ฉะนั้นทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ตนคาดว่าว่ากลุ่มประเทศอาเซียนจะคุยเรื่องนี้กันมากขึ้นในปี 2555

ดร.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้พัฒนาการของอุตสาหกรรมฮาลาล จะกว้างกว่าเรื่องการผลิต หมายถึงจะมีการกล่าวถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งการผลิต บรรจุภัณฑ์ จัดเก็บ ขนส่ง และการวางขายในร้าน ควรจะชัดเจนว่า เป็นโซนฮาลาล เพื่อความสบายใจของผู้บริโภคและความเป็นสาสกล

อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

อยู่ก่อนแต่ง–ท้องวัยเรียน อีกหนึ่งปัญหาสังคมชายแดนใต้

“ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ทุกฝ่ายต่างหันไปเน้นการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงและความปลอดภัย จนละเลยปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาที่กำลังคุกคามวัยรุ่นมุสลิม ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันจะรุนแรงยิ่งขึ้น”


เป็นคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ “นายอับดุลเราะห์มัน มะมิงจิ” ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี


สอดคล้องกับข้อมูลของ “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายฮาลาลและอบรมครอบครัวสุขสันต์ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ที่ระบุกับ “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” ว่า สถิติการการหย่าร้างในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เพิ่มสูงขึ้น จากความไม่เข้าใจการใช้ชีวิตครอบครัว อันสืบเนื่องมาจากการเลือกคู่เองของคู่บ่าวสาว ซึ่งส่วนใหญ่มีต้นตอมาจากการผิดประเวณี ที่ขัดกับหลักการอิสลาม



นี่คือ ปัญหาใหญ่ที่สังคมมุสลิมกำลังประสบ จากถ้อยยืนยันของ “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ”



อันเป็นที่มาของโครงการอบรมครอบครัวสุขสันต์ ที่มี “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” เป็นผู้รับผิดชอบการอบรม โดยเปิดหลักสูตรสอนการเลือกคู่ชีวิต รวมไปถึงการแต่งงาน การใช้ชีวิตคู่ และการมีเพศสัมพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม



“นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” บอกว่า ในการอบรมจะมีการสอนเรื่อง การมีเพศสัมพันธ์ตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องระมัดระวัง ถึงแม้ไม่มีการห้ามไม่ให้พูดถึง แต่จะพูดอย่างไร ไม่ให้เป็นการชักจูงให้เด็กกระทำในสิ่งต้องห้าม การเรียนการสอนเรื่องนี้ในโรงเรียน ก็ต้องดูให้สอดคล้องด้วย



“จากการสุ่มตรวจพฤติกรรมของวัยรุ่นในจังหวัดปัตตานี ตามสถานที่ที่มักเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 พบวัยรุ่นกว่า 200 คู่ ทำผิดประเวณี เมื่อเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีแจ้งให้จับกุม ทางเจ้าหน้าที่รัฐอ้างว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคล นี่คือความขัดแย้งระหว่างข้อบัญญัติตามกฏหมายกับหลักการอิสลาม เนื่องจากโครงสร้างกฎหมายของประเทศไทย มีหลายเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับหลักการอิสลาม ทำให้คณะกรรมการอิสลามฯ แก้ปัญหาไม่ได้” นายอับดุลมานะ กล่าว



เมื่อปี 2553 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า ประเทศไทยติดอันดับหนึ่ง วัยรุ่น 15–19 ปี ตั้งท้องมากที่สุดในเอเชีย และติดอันดับสองของโลก



ปลายปี 2553 ข้อมูลข้างต้นก็ถูกตอกย้ำด้วยข่าวพบ 2,002 ศพทารก ที่วัดไผ่เงิน กรุงเทพมหานคร



จากเหตุการณ์นี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีมาตรการเร่งด่วน โรงพยาบาลมีคลินิกวัยรุ่นให้คำปรึกษากับวัยรุ่นโดยตรง ทุกปัญหา ทุกเรื่องตลอดเวลา



“นายอิสมาแอมามะ” นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ประจำจังหวัดปัตตานี มองมาตรการนี้ของกระทรวงสาธารณสุขว่า เป็นการแก้ปัญหาปลายทาง เพราะในบริบทของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำหลักการศาสนาอิสลามมาแก้ปัญหานี้ได้



ช่วงที่สังคมยังมีพื้นฐานทางศาสนาเข้มแข็ง สังคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถจัดการเรื่องนี้ได้เอง แต่ตอนนี้สังคมตระหนักเรื่องศาสนาน้อยลง ขณะที่ครอบครัวก็อบอุ่นน้อยลง ถ้าฐานของครอบครัวเข้มแข็ง ผมเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้น” เป็นความเห็นของ “นายอิสมาแอ มามะ”



สาเหตุที่ตัวเลขแม่วัยรุ่นพุ่งขึ้นสูงนั้น “นายอิสมาแอ มามะ” มองว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมแต่งงานกันตั้งแต่เด็ก ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า พฤติกรรมวัยรุ่นปัจจุบันทำให้เกิดการท้องแบบไม่พึงประสงค์มากขึ้น



สอดคล้องกับข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุข ที่สรุปปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน โดยแยกออกเป็น 8 ประเด็น



หนึ่ง แนวโน้มวัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยลงเรื่อยๆ



สอง กลุ่มคนโสดมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงานในอัตราเพิ่มมากขึ้น



สาม วัยรุ่นหญิงยอมรับแนวคิดการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น



สี่ จำนวนวัยรุ่นและเยาวชนป่วยเป็นโรคกามโรค



ห้า แม่วันรุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี



หก วัยรุ่นและเยาวชนจำนวนมากติดเชื้อ HIV



เจ็ด วัยรุ่นมีการทำแท้งมากขึ้น



แปด เด็กวัยรุ่นถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกกระทำรุนแรง



เพื่อลดปัญหาเบื้องต้น “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” บอกว่า เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับผู้ใหญ่หลายฝ่าย ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ฝ่ายปกครอง สถานศึกษา ผลจากการหารือคราวนั้น จึงมีมาตรการตรวจเข้มวัยรุ่นตามหอพัก โดยสารวัตรนักเรียนจะออกตรวจตรปัญหาการอยู่ก่อนแต่ง และปัญหายาเสพติด



ทว่า มาตรการที่กำหนดขึ้น กลับนำมาใช้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง



“ก่อนยังจับแต่งงาน และเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายชายได้อยู่ เด็กสมัยนี้อ้างสิทธิส่วนบุคคลทำให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทำอะไรไม่ได้ ต้องช่วยกันผลักดันให้มีกฏหมายอิสลาม ที่มีเนื้อหาครอบคลุมไปถึงการแก้ปัญหาสังคม จึงจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้” เป็นข้อเสนอแนะของ “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ”



ขณะที่ “ดร.นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง” หัวหน้าโครงการวิจัยการรวมพลังแม่วัยเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาว่า เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะหาแนวทางแก้ไขได้อย่างไร และทำอย่างไรที่จะตัดวงจรของปัญหานี้ห้ได้ งานวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้นไม่ถึงปีชิ้นนี้พบว่า เด็กในกลุ่มเสี่ยงท้องก่อนวัย มาจากครอบครัวที่ไม่อบอุ่น และไม่เข้าใจหลักการศาสนาอิสลาม



“ดร.นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง” มองว่า ปัญหาที่วัยรุ่นกลุ่มนี้ประสบอยู่ เป็นเรื่องที่อ่อนไหว สังคมต้องยอมรับว่าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว เราต้องทำความเข้าใจ และค่อยๆ คิดว่า จะทำอย่างไรให้เด็กเหล่านี้ มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไม่เป็นทุกข์มากนัก เพราะตัวเด็กก็เป็นกังวล เราจะทำอย่างไรให้ตัวเด็กรู้ว่า สิ่งที่ทำไปไม่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา



“สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูและให้ความอบอุ่นแก่เด็กเล็ก ทำให้เด็กโตขึ้นมาในสภาพขาดความอบอุ่น ต้องแสวงหาความอบอุ่นด้วยตัวเอง ประกอบกับสื่อยุคปัจจุบัน ออกมาสื่อสารเรื่องเพศกันอย่างกว้างขวาง ทำให้ปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น ซึ่งนำมาสู่การท้องในวัยเรียนมากขึ้น และแนวโน้มอายุของแม่วัยเรียนจะลดลงมาเรื่อยๆ นี่คือสิ่งที่สังคมมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องนำไปคิดต่อว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไร”



เป็นข้อเสนอแนะของหัวหน้าโครงการวิจัยการรวมพลังแม่วัยเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้



“นายรอสาลี สานานะอะ” อดีตนักกิจกรรมและคณะกรรมการชมรมด้านสังคม มหาวิทยาลัยแห่งหนคึ่ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นว่า ปัญหาวัยรุ่นมุสลิมกระทำผิดหลักการอิสลาม หรือ ZINA จากการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงาน ซึ่งในศาสนาอิสลามถือเป็นการกระทำผิดร้ายแรงต้องถูกลงโทษ สะท้อนให้เห็นว่า ข้อกฏหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันไม่รองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือผู้นำอิสลามก็ไม่มีสิทธิเอาผิดเด็กได้ นอกจากจับแต่งงาน หรือเรียกร้องฝ่ายชายให้จ่ายค่าเสียหายให้ฝ่ายหญิง



พฤติกรรมผิดทำนองคลองธรรมทางเพศของนักศึกษา ในช่วงที่ “นายรอสาลี สานานะอะ” ทำกิจกรรม ถึงแม้จะอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วง แต่คณะกรรมการชมรมฯ ก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่เข้าไปตักเตือนว่า การอยู่ก่อนแต่งในหลักการอิสลาม ถือเป็นความผิดมหันต์ นอกจากวัยรุ่นเหล่านั้นไม่ฟัง บางครั้งยังทำร้ายผู้ที่เข้าไปตักเตือนด้วย



เป็นอีกหนึ่งข้อมูลจากอดีตนักศึกษา “นายรอสาลี สานานะอะ”



“ผมอยากให้มหาวิทยาลัยมีมาตรการสอดส่องดูแลนักศึกษาให้ใกล้ชิดมากกว่านี้ โดยเฉพาะกับวัยรุ่นมลายูมุสลิม ผมคิดว่าหอพักของนักศึกษาทุกหอพัก รวมทั้งหอพักนอกมหาวิทยาลัย ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย จะได้เข้าไปควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ สังคมที่นี่ยังให้ความเคารพผู้นำศาสนาและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผมต้องการให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจจัดการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการเพิ่มเนื้อหาในกฏหมายอิสลาม ให้ครอบคลุมเรื่องนี้ โดยมอบอำนาจให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเข้ามาดูแลได้ ผมเชื่อว่าน่าจะช่วยได้”


เป็นข้อเสนอแนะจากวัยรุ่นนาม “นายรอสาลี สานานะอะ” ผู้มีอดีตเป็นนักกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย

อารีด้า สาเม๊าะ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมการเขียนข่าวเบื้องต้นและการรายงานข่าวสุขภาพ อินเตอร์นิวส์

Syaikh Yusuf Qardhawi Dilarang Memasuki Wilayah Inggris




Rabu, 27/07/2011

Kementerian Dalam Negeri memperingatkan pemerintah Inggris untuk melarang Syaikh Yusuf Al-Qardhawi memasuki Inggris atau bahkan hanya menggunakan wilayah Inggris sebagai transit dari tanggal 14 Juli, karena Syaikh Qardhawi dianggap tidak memiliki visa untuk memasuki Inggris dan tidak memenuhi syarat untuk mendapatkan pembebasan visa pengunjung bagi yang memegang paspor diplomatik Qatar.

Kementerian Dalam Negeri Inggris mengeluarkan keputusan tersebut sesuai dengan Pasal 4 dari Peraturan Imigrasi 1972, menurut laporan kantor berita MENA.

Peraturan itu mengatakan bahwa maskapai penerbangan tidak ada yang boleh membawanya ke Inggris karena mereka akan terkena dakwaan di bawah Pasal 40 Undang-Undang Imigrasi dan Suaka (sebagaimana yang telah diubah).

Dalam hal Syaikh Qardhawi berusaha untuk bepergian ke Inggris, maka dia harus menghubungi direktur komunikasi dan migrasi di Inggris atau kepala Biro Imigrasi di bandara kedatangan.

Pihak berwenang Inggris mencegah Syaikh Qardhawi memasuki Inggris untuk menghadiri konferensi tentang "terorisme."

EMR