วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Menteri Kehakiman: Mubarak akan Diadili di Akademi Polisi di Kairo


Sidang terhadap mantan Presiden Hosni Mubarak akan diadakan di Akademi Polisi di timur laut Kairo, menteri kehakiman Mesir mengatakan Sabtu kemarin (30/7).

Menteri Muhamed al-Guindi menyatakan bahwa persidangan akan dikoordinasikan dengan menteri dalam negeri untuk mengamankan persidangan dan mengatur masuknya pengacara, media dan keluarga mereka yang tewas dalam revolusi, menurut situs milik pemerintah Al-Ahram.

Mubarak direncanakan akan menghadapi persidangan pada tanggal 3 Agustus mendatang untuk tuduhan korupsi dan memerintahkan pembunuhan demonstran selama revolusi 25 Januari, di mana 850 orang tewas.

Kedua putra Mubarak, juga akan diadili hari itu, bersama dengan mantan Menteri Dalam Negeri Habib al-Adly dan enam pembantunya.

Pebisnis Hussein Salem akan diadili secara in absentia atas tuduhan pemborosan dana publik.

Guindi mengatakan pihak berwenang memindahkan lokasi persidangan dari Nasr City untuk alasan keamanan dan menolak rencana untuk mengadakan sidang di Sharm el-Sheikh

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

‘ญี่ปุ่น–ไต้หวัน’คู่แข่งฮาลาลไทย ตั้งเป้าลุยลูกค้ามุสลิมจีน–อินเดีย

Thu, 2011-07-28
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ที่หอประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์ฮาลาล อุตสาหกรรมและธุรกิจ (WHASIB 2011) และงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ฮาลาลสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT–GT HAPEX 2011) โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



ดร.วินัย ดะห์ลัน

ดร.วินัย ดะห์ลัน ประธานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (HSC–CU) กล่าวในการสัมมนาว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีคู่แข่งในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่น่ากลัวคือ ประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน ทั้งสองประเทศได้เตรียมพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล เน้นลูกค้าในประเทศมยักษ์ใหญ่ที่มีประชากรนมุสลิมจำนวนมาก เช่น จีน อินเดีย และประเทศพัฒนาแล้วไทยจะเสียเปรียบในการผลิตอาหารฮาลาลแข่งกับญี่ปุ่นและไต้หวัน เพราะทั้ง 2 ประเทศนี้ มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสูงกว่าไทย

ดร.วินัย กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในกับดักของคำว่าประเทศที่มีรายได้ขนาดกลาง แต่ศักยภาพในการแข่งขันน้อยกว่าประเทศในกลุ่มเดียวกัน เพราะความด้อยกว่าในด้านเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับประเทศ ญี่ปุ่น ยุโรป สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน และประเทศไทย และยังเตรียมเพิ่มศักยภาพในประเทศแถบอินเดีย บังกลาเทศ มองว่าเป็นแหล่งการค้าสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมฮาลาล

“ไต้หวันและญี่ปุ่นได้เชื่อมต่อกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทย เพื่อเตรียมสร้างอุตสาหกรรมฮาลาลในสองประเทศนี้ โดยเชิญตัวแทนของประเทศไทย ไปร่วมตรวจสอบความพร้อมของการเป็นประเทศอุตสาหกรรมฮาลาล” ดร.วินัยดะห์ลัน กล่าว

ดร.วินัย ยังกล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นและไต้วันต่างเป็นห่วงอนาคตเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ได้เสียตำแหน่งการส่งออกให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนไปแล้ว และกำลังจะเสียให้กับประเทศเกาหลีใต้ จึงกังวลว่าจะเสียลูกค้าในตลาดโลก สิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นหวังในอนาคตคือ การรักษาตลาดอาหาร ในแง่ความมั่นคงด้านอาหาร จึงเล็งเห็นโอกาสมหาศาลในตลาดมุสลิม ลูกค้าที่สองประเทศเล็งเห็นเพื่อเป็นตลาดในอนาคตคือ มุสลิมในประเทศอินเดีย และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และมุสลิมในประเทศที่เจริญแล้ว

“MAHADAE MOHAMMAD นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ระหว่างปี 1981–2003 เคยนำเสนอว่า การมองอนาคตเพื่อการพัฒนาควรจะมองด้วยสายตาปกติ ในวงการเวชกรรมมุสลิมละเลยการพัฒนายาเพื่อมุสลิม ทำให้ต้องใช้ยาที่ฮารอม อย่างการฉีดวัคซีนจากหมูก่อนไปทำฮัจย์ นี่คือ FARDU KIFAYAH ของเภสัชกร ที่ต้องทำงานเพื่อลบล้างเรื่องนี้ให้ได้” ดร.วินัย กล่าว

ดร.วินัย กล่าวต่อไปว่า ในศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีการพัฒนาด้านนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล เพื่อการปฏิบัติการทดสอบอาหารฮาลาล เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความยุ่งยากในการตรวจสอบอาหารของชาวมุสลิมว่า ฮาลาลหรือใหม่ ในกระบวนการตรวจสอบ จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถสร้างความกระจ่างได้ ถึงแม้ว่าอาหารนั้นจะไม่มีส่วนผสมที่เป็นฮารอม หรือสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาก็ตาม แต่ความไม่ฮาลาลยังหมายรวมถึงการปนเปื้อนเชื้อโรคด้วย

ดร.วินัย กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลมีการคิดค้นระบบเพื่อการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮาลาล โดยจัดการข้อมูลผ่านระบบดิจิตอล ให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของตราฮาลาลได้ โดยการแสกนรหัสผ่านมือถือ เชื่อมต่อระบบกับฐานข้อมูล สามารถตรวจสอบแบบทวนลูกศรได้ ระบบนี้คือ S.I.L.K หรือ sariah compliant ICT Logistics control เป็นระบบที่เปลี่ยนจากระบบเอกสารเป็นระบบดิจิตอล นวัตกรรมที่คิดค้นเพื่อการตรวจสอบตราอาหารฮาลาล สร้างขึ้นมารองรับการแข่งขันกับโลกตะวันตก จึงต้องพร้อมที่จะแข่งขันด้านเทคโนโลยีด้วย

นายสว่างพงศ์ หมวดเพชร ผู้ดูแลระบบ HOST academy ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล กล่าวต่อที่สัมมนาว่า ในหลายประเทศพยายามสร้างและพัฒนาระบบการตรวจสอบเครื่องหมายฮาลาลออนไลน์ (halal checking online) เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มาจากต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยกำลังเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศผ่านระบบนี้อยู่ โดยเฉพาะประกาศนียบัตรที่ยืนยันความฮาลาลที่ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศด้วย

ดร.ซาและห์ ตาลิบ อาจารย์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา นำเสนอต่อที่ประชุมว่า ประชากรมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 2.15 ล้านคน ยังมีความคิดความเชื่อที่ยังคงความเป็นมุสลิมมลายูได้ดี เพราะไม่ผ่านการกรอบความคิดจากประเทศมหาอำนาจ ที่เข้ามาเปลี่ยนค่านิยมของประชากรในแถบนี้ ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาลมากนัก

ดร.ซาและห์ กล่าวว่า สถานบริการอาหารในประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับอาหารฮาลาล ทำให้มุสลิมมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ไว้วางใจ จึงไม่รับประทานอาหารในโรงอาหารของคนต่างศาสนิก ต่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประเทศอื่น ที่มีการรับประกันฮาลาลชัดเจน สามารถรับประทานได้ แม้จะเป็นอาหารในโรงอาหารของคนต่างศาสนิกก็ตาม

ดร.ซาและห์ กล่าวอีกว่า มุสลิมใน 3 จังหวดชายแดนภาคใต้ สามารถเป็นหน่วยผลิตอาหารหรือโรงงานอาหารฮาลาลสำหรับตลาดโลกได้ และยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง Suwannabhuma countries หมายถึงประเทศไทยตอนบน ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และ melayu winisula ซึ่งหมายถึง มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ เป็นต้น ตรงนี้คือโอกาสของประเทศไทย
Faqir Muammad Anjur ตัวแทนองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) จากประเทศปากีสถาน กล่าวต่อที่สัมมนาว่า นิยามของอาหารฮาลาลต้องเป็นอาหารที่ปลอดจากการปนเปื้น ตั้งแต่ในระดับของยีน ซึ่งในประเทศตะวันตกมีพัฒนาการด้านการตัดแต่งยีนสูงมาก การใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์จึงต้องสูงขึ้น OIC ต้องมีความเข้มแข็งในการวิจัย เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์อย่างการตัดแต่งยีน ต้องแน่ใจว่า ไม่มีการปนเปื้อนจากยีนของหมู อย่างที่เคยตรวจเจอในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกฮาลาลในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปนเปื้อนยีนสัตว์ฮารอม อย่างหมูมาแล้ว

Prof. Dr.Veni Hadju นักวิชาการจากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารฮาลาลในประเทศอินโดนีเซียต่อที่สัมมนาว่า ถึงแม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีประชามุสลิมมากที่สุด แต่ความจริงรัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ฮาลาลเท่าที่ควร มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตราฮาลาลเพียง 10% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเกือบ 3,000 รายการ ทั้งที่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย ต้องการสินค้าที่มีเครื่องหมายฮาลาล

Prof. Dr.Veni Hadju กล่าวอีกว่า อินโดนีเซียเคยมีเรื่องราวใหญ่โต เมื่อมีตรวจสอบพบว่า อาหารที่ได้รับตราฮาลาลมีไขมันหมู ประเด็นนี้สร้างความโกรธแค้น จนคนทั้งประเทศลุกขึ้นมาประท้วง เจ้าของกิจการต้องจ่ายเงินร้อยล้านรูเปีย เพื่อให้สื่อกลบเกลื่อนเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจเจอไขมันหมูคือ สบู่ ยาสีฟัน และนม เป็นต้น ส่งผลชาวอินโดนีเซียลังเลที่จะซื้อสินค้า จนเกิดตรวจสอบสินค้าอย่างหนัก

“ถึงแม้ว่าชาวอินโดนีเซียจะมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก แต่ก็ไม่ได้ตระหนักในเครื่องหมายฮาลาลมากนัก จะมีกระแสประท้วงบ้างในช่วงที่มีการนำเสนอข้อมูลว่า พบการปนเปื้อนในอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีหมูปนเปื้อน” Prof. Dr.Veni Hadju กล่าว

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวเปิดงานว่า อุตสาหกรรมฮาลาลต้องไปได้ไกลกว่าที่ผ่านมา กลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องร่วมกันผลักดันให้เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของมุสลิมอย่างเดียว เพราะเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงมุสลิมเท่านั้น ในอัลกุรอานระบุ “โอ้มนุษย์เอ๋ย จงบริโภคบนหน้าแผ่นดิน จากสิ่งที่เป็นอนุมัติและดี” (อัลบากอเราะห์ อายะห์ 168) สำหรับอาหารที่ดีและปลอดภัยภายใต้หลักคิด HALALAN TOYYIBAN ในความหมายของอิสลามก็คือ อาหารปลอดจากเชื้อที่ไม่ได้รับอนุญาตและดีที่สุด ฉะนั้นทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ตนคาดว่าว่ากลุ่มประเทศอาเซียนจะคุยเรื่องนี้กันมากขึ้นในปี 2555

ดร.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้พัฒนาการของอุตสาหกรรมฮาลาล จะกว้างกว่าเรื่องการผลิต หมายถึงจะมีการกล่าวถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งการผลิต บรรจุภัณฑ์ จัดเก็บ ขนส่ง และการวางขายในร้าน ควรจะชัดเจนว่า เป็นโซนฮาลาล เพื่อความสบายใจของผู้บริโภคและความเป็นสาสกล

อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

อยู่ก่อนแต่ง–ท้องวัยเรียน อีกหนึ่งปัญหาสังคมชายแดนใต้

“ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ทุกฝ่ายต่างหันไปเน้นการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงและความปลอดภัย จนละเลยปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาที่กำลังคุกคามวัยรุ่นมุสลิม ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันจะรุนแรงยิ่งขึ้น”


เป็นคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ “นายอับดุลเราะห์มัน มะมิงจิ” ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี


สอดคล้องกับข้อมูลของ “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายฮาลาลและอบรมครอบครัวสุขสันต์ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ที่ระบุกับ “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” ว่า สถิติการการหย่าร้างในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เพิ่มสูงขึ้น จากความไม่เข้าใจการใช้ชีวิตครอบครัว อันสืบเนื่องมาจากการเลือกคู่เองของคู่บ่าวสาว ซึ่งส่วนใหญ่มีต้นตอมาจากการผิดประเวณี ที่ขัดกับหลักการอิสลาม



นี่คือ ปัญหาใหญ่ที่สังคมมุสลิมกำลังประสบ จากถ้อยยืนยันของ “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ”



อันเป็นที่มาของโครงการอบรมครอบครัวสุขสันต์ ที่มี “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” เป็นผู้รับผิดชอบการอบรม โดยเปิดหลักสูตรสอนการเลือกคู่ชีวิต รวมไปถึงการแต่งงาน การใช้ชีวิตคู่ และการมีเพศสัมพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม



“นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” บอกว่า ในการอบรมจะมีการสอนเรื่อง การมีเพศสัมพันธ์ตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องระมัดระวัง ถึงแม้ไม่มีการห้ามไม่ให้พูดถึง แต่จะพูดอย่างไร ไม่ให้เป็นการชักจูงให้เด็กกระทำในสิ่งต้องห้าม การเรียนการสอนเรื่องนี้ในโรงเรียน ก็ต้องดูให้สอดคล้องด้วย



“จากการสุ่มตรวจพฤติกรรมของวัยรุ่นในจังหวัดปัตตานี ตามสถานที่ที่มักเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 พบวัยรุ่นกว่า 200 คู่ ทำผิดประเวณี เมื่อเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีแจ้งให้จับกุม ทางเจ้าหน้าที่รัฐอ้างว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคล นี่คือความขัดแย้งระหว่างข้อบัญญัติตามกฏหมายกับหลักการอิสลาม เนื่องจากโครงสร้างกฎหมายของประเทศไทย มีหลายเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับหลักการอิสลาม ทำให้คณะกรรมการอิสลามฯ แก้ปัญหาไม่ได้” นายอับดุลมานะ กล่าว



เมื่อปี 2553 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า ประเทศไทยติดอันดับหนึ่ง วัยรุ่น 15–19 ปี ตั้งท้องมากที่สุดในเอเชีย และติดอันดับสองของโลก



ปลายปี 2553 ข้อมูลข้างต้นก็ถูกตอกย้ำด้วยข่าวพบ 2,002 ศพทารก ที่วัดไผ่เงิน กรุงเทพมหานคร



จากเหตุการณ์นี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีมาตรการเร่งด่วน โรงพยาบาลมีคลินิกวัยรุ่นให้คำปรึกษากับวัยรุ่นโดยตรง ทุกปัญหา ทุกเรื่องตลอดเวลา



“นายอิสมาแอมามะ” นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ประจำจังหวัดปัตตานี มองมาตรการนี้ของกระทรวงสาธารณสุขว่า เป็นการแก้ปัญหาปลายทาง เพราะในบริบทของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำหลักการศาสนาอิสลามมาแก้ปัญหานี้ได้



ช่วงที่สังคมยังมีพื้นฐานทางศาสนาเข้มแข็ง สังคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถจัดการเรื่องนี้ได้เอง แต่ตอนนี้สังคมตระหนักเรื่องศาสนาน้อยลง ขณะที่ครอบครัวก็อบอุ่นน้อยลง ถ้าฐานของครอบครัวเข้มแข็ง ผมเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้น” เป็นความเห็นของ “นายอิสมาแอ มามะ”



สาเหตุที่ตัวเลขแม่วัยรุ่นพุ่งขึ้นสูงนั้น “นายอิสมาแอ มามะ” มองว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมแต่งงานกันตั้งแต่เด็ก ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า พฤติกรรมวัยรุ่นปัจจุบันทำให้เกิดการท้องแบบไม่พึงประสงค์มากขึ้น



สอดคล้องกับข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุข ที่สรุปปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน โดยแยกออกเป็น 8 ประเด็น



หนึ่ง แนวโน้มวัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยลงเรื่อยๆ



สอง กลุ่มคนโสดมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงานในอัตราเพิ่มมากขึ้น



สาม วัยรุ่นหญิงยอมรับแนวคิดการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น



สี่ จำนวนวัยรุ่นและเยาวชนป่วยเป็นโรคกามโรค



ห้า แม่วันรุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี



หก วัยรุ่นและเยาวชนจำนวนมากติดเชื้อ HIV



เจ็ด วัยรุ่นมีการทำแท้งมากขึ้น



แปด เด็กวัยรุ่นถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกกระทำรุนแรง



เพื่อลดปัญหาเบื้องต้น “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ” บอกว่า เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับผู้ใหญ่หลายฝ่าย ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ฝ่ายปกครอง สถานศึกษา ผลจากการหารือคราวนั้น จึงมีมาตรการตรวจเข้มวัยรุ่นตามหอพัก โดยสารวัตรนักเรียนจะออกตรวจตรปัญหาการอยู่ก่อนแต่ง และปัญหายาเสพติด



ทว่า มาตรการที่กำหนดขึ้น กลับนำมาใช้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง



“ก่อนยังจับแต่งงาน และเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายชายได้อยู่ เด็กสมัยนี้อ้างสิทธิส่วนบุคคลทำให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทำอะไรไม่ได้ ต้องช่วยกันผลักดันให้มีกฏหมายอิสลาม ที่มีเนื้อหาครอบคลุมไปถึงการแก้ปัญหาสังคม จึงจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้” เป็นข้อเสนอแนะของ “นายอับดุลมานะ เจ๊ะและ”



ขณะที่ “ดร.นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง” หัวหน้าโครงการวิจัยการรวมพลังแม่วัยเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาว่า เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะหาแนวทางแก้ไขได้อย่างไร และทำอย่างไรที่จะตัดวงจรของปัญหานี้ห้ได้ งานวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้นไม่ถึงปีชิ้นนี้พบว่า เด็กในกลุ่มเสี่ยงท้องก่อนวัย มาจากครอบครัวที่ไม่อบอุ่น และไม่เข้าใจหลักการศาสนาอิสลาม



“ดร.นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง” มองว่า ปัญหาที่วัยรุ่นกลุ่มนี้ประสบอยู่ เป็นเรื่องที่อ่อนไหว สังคมต้องยอมรับว่าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว เราต้องทำความเข้าใจ และค่อยๆ คิดว่า จะทำอย่างไรให้เด็กเหล่านี้ มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไม่เป็นทุกข์มากนัก เพราะตัวเด็กก็เป็นกังวล เราจะทำอย่างไรให้ตัวเด็กรู้ว่า สิ่งที่ทำไปไม่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา



“สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูและให้ความอบอุ่นแก่เด็กเล็ก ทำให้เด็กโตขึ้นมาในสภาพขาดความอบอุ่น ต้องแสวงหาความอบอุ่นด้วยตัวเอง ประกอบกับสื่อยุคปัจจุบัน ออกมาสื่อสารเรื่องเพศกันอย่างกว้างขวาง ทำให้ปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น ซึ่งนำมาสู่การท้องในวัยเรียนมากขึ้น และแนวโน้มอายุของแม่วัยเรียนจะลดลงมาเรื่อยๆ นี่คือสิ่งที่สังคมมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องนำไปคิดต่อว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไร”



เป็นข้อเสนอแนะของหัวหน้าโครงการวิจัยการรวมพลังแม่วัยเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้



“นายรอสาลี สานานะอะ” อดีตนักกิจกรรมและคณะกรรมการชมรมด้านสังคม มหาวิทยาลัยแห่งหนคึ่ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นว่า ปัญหาวัยรุ่นมุสลิมกระทำผิดหลักการอิสลาม หรือ ZINA จากการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงาน ซึ่งในศาสนาอิสลามถือเป็นการกระทำผิดร้ายแรงต้องถูกลงโทษ สะท้อนให้เห็นว่า ข้อกฏหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันไม่รองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือผู้นำอิสลามก็ไม่มีสิทธิเอาผิดเด็กได้ นอกจากจับแต่งงาน หรือเรียกร้องฝ่ายชายให้จ่ายค่าเสียหายให้ฝ่ายหญิง



พฤติกรรมผิดทำนองคลองธรรมทางเพศของนักศึกษา ในช่วงที่ “นายรอสาลี สานานะอะ” ทำกิจกรรม ถึงแม้จะอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วง แต่คณะกรรมการชมรมฯ ก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่เข้าไปตักเตือนว่า การอยู่ก่อนแต่งในหลักการอิสลาม ถือเป็นความผิดมหันต์ นอกจากวัยรุ่นเหล่านั้นไม่ฟัง บางครั้งยังทำร้ายผู้ที่เข้าไปตักเตือนด้วย



เป็นอีกหนึ่งข้อมูลจากอดีตนักศึกษา “นายรอสาลี สานานะอะ”



“ผมอยากให้มหาวิทยาลัยมีมาตรการสอดส่องดูแลนักศึกษาให้ใกล้ชิดมากกว่านี้ โดยเฉพาะกับวัยรุ่นมลายูมุสลิม ผมคิดว่าหอพักของนักศึกษาทุกหอพัก รวมทั้งหอพักนอกมหาวิทยาลัย ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย จะได้เข้าไปควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ สังคมที่นี่ยังให้ความเคารพผู้นำศาสนาและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผมต้องการให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจจัดการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการเพิ่มเนื้อหาในกฏหมายอิสลาม ให้ครอบคลุมเรื่องนี้ โดยมอบอำนาจให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเข้ามาดูแลได้ ผมเชื่อว่าน่าจะช่วยได้”


เป็นข้อเสนอแนะจากวัยรุ่นนาม “นายรอสาลี สานานะอะ” ผู้มีอดีตเป็นนักกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย

อารีด้า สาเม๊าะ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมการเขียนข่าวเบื้องต้นและการรายงานข่าวสุขภาพ อินเตอร์นิวส์

Syaikh Yusuf Qardhawi Dilarang Memasuki Wilayah Inggris




Rabu, 27/07/2011

Kementerian Dalam Negeri memperingatkan pemerintah Inggris untuk melarang Syaikh Yusuf Al-Qardhawi memasuki Inggris atau bahkan hanya menggunakan wilayah Inggris sebagai transit dari tanggal 14 Juli, karena Syaikh Qardhawi dianggap tidak memiliki visa untuk memasuki Inggris dan tidak memenuhi syarat untuk mendapatkan pembebasan visa pengunjung bagi yang memegang paspor diplomatik Qatar.

Kementerian Dalam Negeri Inggris mengeluarkan keputusan tersebut sesuai dengan Pasal 4 dari Peraturan Imigrasi 1972, menurut laporan kantor berita MENA.

Peraturan itu mengatakan bahwa maskapai penerbangan tidak ada yang boleh membawanya ke Inggris karena mereka akan terkena dakwaan di bawah Pasal 40 Undang-Undang Imigrasi dan Suaka (sebagaimana yang telah diubah).

Dalam hal Syaikh Qardhawi berusaha untuk bepergian ke Inggris, maka dia harus menghubungi direktur komunikasi dan migrasi di Inggris atau kepala Biro Imigrasi di bandara kedatangan.

Pihak berwenang Inggris mencegah Syaikh Qardhawi memasuki Inggris untuk menghadiri konferensi tentang "terorisme."

EMR

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Norbert Ropers ชี้ทางลัดสู่สันติภาพชายแดนใต้

2011-07-24 23:12

อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้



เวทีความรู้ครั้งที่ 1 เรื่องกระบวนการสันติภาพเริ่มต้นอย่างไร มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกันจัดกับกลุ่มบูหงารายา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมอิบนุ คอลดูน วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นับเป็นอีกเวทีวิชาการที่ดึงความสนใจจากผู้คนที่ใฝ่หาสันติภาพในจังหวัดชายอดนภาคใต้ ให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย

หนึ่งในหลากหลายความสนใจนั้น อยู่ที่ความโดดเด่นของผู้บรรยาย นั่นคือ Dr.Norbert Ropers ผู้อำนวยการมูลนิธิ Berghof Peace Support นักวิชาการชาวเยอรมัน อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้ผ่านประสบการณ์งานวิจัยเรื่องกระบวนสันติภาพในประเทศแถบเอเชียนานกว่า 10 ปี ที่มาบรรยายเรื่อง “กระบวนการสันติภาพเริ่มต้นอย่างไร? ทฤษฎีและประสบการณ์”

ต่อไปนี้คือ คำบรรยายของนักวิชาการชาวเยอรมัน นาม “Dr.Norbert Ropers” ผู้เชี่ยวชาญ Peace Process ระดับโลก

………………………………………………………………..

ผมมีประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัย ในวิชาการเมืองระหว่างประเทศและวิชาสันติภาพและความขัดแย้งศึกษา (PEACE and CONFLICT STUDY) ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อมอยู่กับมูลนิธิเอกชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในเยอรมันนี ชื่อ BEGHOF foundation โดยเริ่มจากการทำวิจัยและทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการสร้างสันติภาพและการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ทำงานหลักของผมคือเอเชีย 8 ปี ในประเทศศรีลังกา 2 ปีในประเทศไทย และปีหน้าผมจะใช้เวลาประมาณ 50% ไปกับการทำงานในจังหวัดปัตตานี ในฐานะนักวิจัยของสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อสนับสนุนงานของอาจารย์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้

มูลนิธิ BEGHOF ในภาษาอังกฤษหมายถึงสวนในภูเขา มูลนิธิฯ แห่งนี้เกิดขึ้นในบริบททางการเมืองระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพทั้งหมดว่า จะเริ่มต้นอย่างไร จะคงสภาพให้ยั่งยืนได้อย่างไร และจะทำให้มันประสบความสำเร็จได้อย่างไร

เราต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับคำว่า ความขัดแย้งก่อน ความหมายของความขัดแย้ง และความจำเพาะของความขัดแย้งเป็นอย่างไร แล้วค่อยเรียนรู้กระบวนการของมัน

หลายคนคิดว่า ความขัดแย้งเหมือนกับความรุนแรง แต่ความจริงแล้วไม่เหมือนกัน ความรุนแรงเกิดขึ้นได้ และจะเปลี่ยนผ่านไป

ขณะที่ความขัดแย้งเป็นความขัดกันของความต้องการ แรงบันดาลใจ ความคิดเห็น แต่อาจจะไม่นำมาสู่ความรุนแรงก็ได้ ที่สำคัญความขัดแย้งจำเป็นมาก ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคม

บางคนมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากคนสองฝ่ายต้องการสิ่งเดียวกัน ทั้งที่ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ในหมู่พวกเดียวกัน ถ้ามองปัญหาแตกต่างกัน และอาจนำไปสู่การตอบโต้ด้วยความรุนแรงก็ได้

ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ในประเทศศรีลังกาช่วงสงครามระหว่างขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลมกับรัฐบาลศรีลังกาครั้งล่าสุด รัฐบาลพูดว่า เราไม่มีความขัดแย้ง เรามีแต่ปัญหาการก่อการร้าย แต่ชุมชนทมิฬกลับบอกว่า เรามีความขัดแย้ง เพียงแต่กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงอยู่ในขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลม

งานวิจัยยังระบุอีกว่า ความขัดแย้งอาจจะเป็นเรื่องความแตกต่างของเป้าประสงค์ ระหว่างผลประโยชน์ และความต้องการของกลุ่มคน เช่น กรณีเจ้าของทาสและทาส ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่ในยุคทาสคนทั้งสองกลุ่มก็ไม่ได้มองว่า พวกเขาขัดแย้งกัน

ถ้าไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความรุนแรง การสมานฉันท์มักจะถูกนำไปใช้ประกอบการอธิบายสภาพแห่งสันติภาพ คำถามของผมคือ สภาพเหล่านั้น เป็นสภาพแห่งสันติภาพจริงหรือไม่

ในบางกรณีมีผู้พยายามกดความรุนแรงไว้ไม่ให้ยกระดับขึ้น โดยใช้ผู้รักษาความปลอดภัยจำนวนมาก เช่น ดินแดนแคชเมียร์ รัฐบาลอินเดียส่งทหารเข้าควบคุมพื้นที่ 500,000 นาย เพื่อกดดันฝ่ายตรงข้าม จนไม่สามารถใช้ความรุนแรงในระดับสูงได้ นั่นใช่สันติภาพหรือไม่

สันติภาพมี 2 ความหมาย คือ สันติภาพในแง่ลบ (Negative peace) และสันติภาพในแง่บวก (Positive peace)

ถ้าสันติภาพหมายถึงสภาพที่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงปรากฏทางกายภาพ นั่นเป็นความหมายแบบ Negative peace แต่ถ้าสันติภาพในแง่บวก เป็นความหมายที่ครอบคลุมความเป็นธรรม ยุติธรรม ประชาธิปไตย สังคม เศรษฐกิจที่ดี

สาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งยืดเยื้อ มี 5 ลักษณะคือ ความเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ และความเป็นเจ้าของในบางอย่างด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อย ที่ต้องการยืนยันในสิทธิปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงความต้องการให้มีการอนุรักษ์อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ และความรู้ของเผ่าพันธุ์ตัวเอง

ยกตัวอย่างกรณีศรีลังกา เมื่อก่อนเรียกว่ารัฐซีลอน เมื่อได้รับเอกราช ในปีค.ศ. 1948 กลายเป็นประเทศศรีลังกา ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนสิงหลนับถือศาสนาพุทธ ต้องการยกกลุ่มชนของตนเป็นพลเมืองหลัก และยกศาสนาพุทธขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ ทำให้เกิดความขัดแย้งกับชาวทมิฬ ชนกลุ่มน้อยที่รับเรื่องนี้ไม่ได้

ความขัดแย้งดังกล่าวยืดเยื้อยาวนาน เมื่อมีชาวทมิฬที่อยู่ในรัฐทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นรัฐของคนทมิฬ อยู่ห่างจากศรีลังกาไม่มากนัก มาช่วยสนับสนุนการต่อสู้ของชาวทมิฬในศรีลังกา

ปัจจัยสุดท้ายที่ทำให้ขัดแย้งยืดเยื้อ ถึงกับส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นกลายเป็นวงจร มีตัวอย่างที่นำมาจากงานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพคือ ความขัดแย้งทางยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างชาวเซิร์บและชาวโครแอทกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมบอสเนีย ความขัดแย้งในอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ความขัดแย้งที่เกาะมินดาเนา ในประเทศฟิลิปปินส์ และความขัดแย้งประเทศจอร์เจีย ซึ่งมีลักษณะความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ

มักมีคำถามว่า เมื่อไรจะถึงเวลาแก้ไขความขัดแย้งเหล่านั้น คำตอบคือ อาจจะเป็นสันติภาพแง่ลบก่อน แล้วสันติภาพแง่บวกจะตามมาทีหลัง

เรื่องนี้มี 3 ทฤษฎี ทฤษฎีที่หนึ่ง เป็นแนวคิดที่เป็นจริงคือ คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายถึงจุดสะบักสะบอม สู้ต่อไปก็ไม่เห็นทางชนะ หมายถึงทั้งสองฝ่ายเข้าสู่ภาวะ Dead lock มองไม่เห็นทางชนะในหนทางนี้แล้ว เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสงคราม 30 ปีของซูดานเหนือกับซูดานใต้ สุดท้ายซูดานใต้ก็ประกาศเอกราชเป็นประเทศซูดานใต้ได้

อีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า คู่ขัดแย้งได้รับความเสียหายจากสงคราม และได้รับแรงกดดันจากต่างประเทศ อย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่เข้าไปกดดันเซอร์เบีย ทำให้ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานถูกหาทางออก

ทฤษฎีที่สอง เมื่อหน้าต่างแห่งโอกาสมาถึง (Window of opportunity) ซึ่งอาจมาพร้อมกับรัฐบาลใหม่ที่มุ่งมั่นจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือฝ่ายขบวนการต่อสู้เปลี่ยนใจ หรือเกิดจากอิทธิพลภายนอกที่ต้องการหยุดความขัดแย้ง และหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างกรณีนี้คือ อาเจะห์ของประเทศอินโดนีเซีย ที่ถูกคลื่นสึนามิซัด ทำให้กลุ่มต่อสู้กับรัฐบาลอินโดนีเซียในอาเจะห์คือ ขบวนการ GAM กับทหารของรัฐบาลอินโดนีเซียบนเกาะสุมาตราหยุดการต่อสู้ บวกอิทธิพลจากข้างนอกเข้าไปกดดันให้เกิดการเจรจา

ในศรีลังกาก็เช่นเดียวกับอาเจะห์คือ มีคนกลางเข้ามาช่วยเหลือให้เกิดการเจรจา แต่การเจรจาก็ไม่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นว่า กรณีแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทฤษฎีที่สาม เป็นความมุ่งมั่นทางการเมืองของภาคประชาสังคม ที่รวมกลุ่มต่างๆ ในสังคมขึ้นมารณรงค์หาแนวทางการแก้ปัญหาให้สำเร็จ

เราพูดถึงอะไรที่สามารถเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ความเคลื่อนไหวของกระบวนการสันติภาพ เริ่มต้นในระดับสูง แต่ค่อยๆ ลดลงตามปัจจัยที่เกิดขึ้น และแนวทางการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นต้องเกิดในหลายระดับ

ระดับที่ 1 (tract I) คือกลุ่มผู้นำจากทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายขบวนการ ระดับที่ 2 (tract II) คือกลุ่มนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และที่สำคัญที่สุดคือคนรากหญ้า

สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงเวลาของจุดเปลี่ยน เพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนก่อน–ก่อนการเจรจา (pre–pre negotiation) หรือยัง

การเจรจาคือการนั่งโต๊ะมาคุยกัน เพื่อหาทางออกของฝ่ายที่มีความขัดแย้ง ยกตัวอย่างในปี 2005 หัวหน้าฝ่ายรัฐของอินโดนีเซีย และ GAM ของอาเจะห์ มานั่งโต๊ะเจรจาโดยมีกลุ่มองค์กรทำงานด้านเจรจามานั่งโต๊ะคุยด้วย

ส่วนขั้นตอนก่อนเจรจา คือการเตรียมการประชุมเตรียมการเพื่อการเจรจา ซึ่งมันจะเป็นการประชุมลับ คุยเบื้องต้นถึงหัวข้อและเป้าหมายคร่าวๆ ในโต๊ะเจรจาว่า จะมีอะไรบ้าง

สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีกลิ่นไอของ pre–pre negotiation หรือก่อน–ก่อนการเจรจา

ถ้าผ่านขั้นตอนตรงนั้นแล้ว จะถึงขั้นตอนการตกลงทางการเมือง ยกตัวอย่างที่อาเจะห์ เกิดขั้นตอนการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ หรือในบอสเนีย ก็เกิดจากการจัดตั้งกลุ่มชุมชนที่มีความสัมพันธ์ของ 3 ชาติพันธุ์ หรือซูดานที่มีการแบ่งเป็นประเทศซูดานเหนือและซูดานใต้ นั่นเป็นผลของการตกลงทางการเมืองหลังจากเกิดกระบวนการสันติภาพ

หลังจากตกลงทางการเมือง หลายคนวางใจว่าจะเกิดสันติภาพ แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปัญหาใหม่ที่ต่างกัน แค่อาจจะไม่มีภาพความรุนแรงปรากฏให้เห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่คือ การตีความข้อตกลงที่เข้าใจไม่ตรงกัน เช่น ในการตกลงเจรจาระหว่างรัฐบาลเนปาลกับกลุ่มเหมาอิสม์ ซึ่งการดำเนินการสันติภาพภายใต้ความเข้าใจต่างกันระหว่างสองฝ่าย ผลคือกลุ่มเหมาอิสม์ไม่ยอมบูรณาการกองกำลังติดอาวุธของตัวเอง เข้ากับกองกำลังทหารของเนปาล ทำให้เกิดการต่อต้านข้อตกลง ด้วยการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง (Disagreement to agreement)

ทางออกของปัญหาแรกเสร็จสิ้นแล้ว อาจจะนำมาสู่ความขัดแย้งใหม่ เช่น ในซูดานเหนือและใต้ ตอนนี้มีปัญหาใหม่ที่ชายแดน เนื่องจากในข้อตกลงไม่ได้ระบุชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับเส้นชายแดน

ปัญหาคือ แหล่งทรัพยากรน้ำมันที่อยู่ตรงรอยต่อบริเวณชายแดน ที่ยังไม่มีการระบุชัดเจนในตอนแรก เพราะเพิ่งค้นพบหลังการลงนามในข้อตกลงไปแล้ว อาจจะเป็นสาเหตุการปะทุความรุนแรงระหว่างกันอีกรอบ ข้อสรุปจากการศึกษาความขัดแย้งจาก 20 กรณี โดยกลุ่มที่ศึกษาจากกรณีไอร์แลนด์เหนือ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ พบว่าต้องทำ 9 ข้อให้ได้ก่อน

1. ต้องรวบรวมกลุ่มที่ทรงพลังที่จะสร้างความรุนแรงให้ได้ก่อน เป็นประเด็นที่เรียนรู้จากกรณีความขัดแย้งในไอร์แลนด์ที่ยืดเยื้อ ซึ่งพบว่าเพราะกลุ่มที่แฝงอยู่ในกลุ่มก่อการร้ายไม่ถูกรวมอยู่ในการเจรจาตั้งแต่แรก

2. ระหว่างทางการเจรจา ต้องยอมรับว่า จะยังเกิดความรุนแรงอยู่

3. กระบวนการสันติภาพ ต้องเป็นต้นแบบของการให้และการรับตลอดเวลา เราต้องยอมรับว่า แต่ละฝ่ายต้องมีส่วนที่ได้และส่วนที่เสีย

4. ผู้ชนะต้องขายความคิดเรื่องสันติภาพให้ประชาชนทุกกลุ่มยอมรับให้ได้ กระบวนการสันติภาพไม่สามารถดำเนินการโดยผู้นำแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้ประชากรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสงครามเชื่อมั่นว่า จะไม่มีผลกระทบซ้ำซ้อนจากการวางอาวุธ หรือข้อตกลงนั้น จะไม่มีการเย้ยหยันฝ่ายตรงข้าม

5. การมองเผื่อไปถึงวันข้างหน้า ถึงความขัดแย้งที่อาจจะปะทุขึ้นอีกในอนาคต

6. การพัฒนาต้องเกิดพร้อมกับกระบวนการสันติภาพ เช่น รัฐบาลประเทศศรีลังกาละเลยการพัฒนาในพื้นที่ของชาวทมิฬ และยังมีการกีดกันชาวทมิฬในเรื่องต่างๆ ทำให้กระบวนการสันติภาพล้มเหลว

7. สันติภาพกับความยุติธรรมต้องมาพร้อมกัน เพราะถ้ายังมีการละเมิดอีกฝ่าย จะทำให้กระบวนการสันติภาพล้มเหลว และขาดความน่าเชื่อถือ

8. สนธิสัญญาหยุดยิง ต้องมีข้อตกลงระยะยาวที่จะไม่กลับมาใช้ความรุนแรงอีก เพื่อให้เกิดสันติภาพในระยะยาว จะต้องพูดเรื่องการเมืองประกอบด้วย

9. การแก้ไขปัญหาควรจะอยู่ในวิถีที่เหมาะสมกับชุมชน หรือเฉพาะพื้นที่นั้นๆ แทนที่จะนำแบบอย่างจากพื้นที่อื่นๆ มาปรับใช้ ในการหาหนทางสู่สันติภาพ


ประเทศเยอรมันนีสามารถก้าวข้ามความเจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ ก้าวสู่การเป็นสังคมเยอรมันทุกวันนี้ได้อย่างไร?

จากประสบการณ์ความรุนแรงที่สะสมอยู่ในประเทศเยอรมันนี และส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ความรุนแรงยืดเยื้อกว่า 150 สิบปี

ประวัติศาสตร์สงครามที่โด่งดังของเยอรมันนี อยู่ระหว่างปี ค.ศ.1870–1871 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามให้กับเยอรมันนี ถูกเยอรมันนีเรียกค่าชดเชยสงครามและถูกตราหน้าว่าเป็นผู้แพ้สงคราม ช่วง ค.ศ.1870–1871 เรายังไม่เรียกตัวเองว่าเยอรมัน

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1914–1918 กลายเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสเอาคืน และตราหน้าให้เยอรมันรู้สึกว่าเป็นผู้แพ้บ้าง เยอรมันนีต้องจ่ายชดใช้ค่าสงครามให้ฝรั่งเศสมากกว่าตอนที่ฝรั่งเศสจ่ายให้เยอรมันนี

หลังจากค.ศ.1920 เยอรมันนีส่อแววว่าจะอ่อนแอในการพยุงประชาธิปไตย และเข้าสู่ความรุนแรงในแบบรัฐบาลนาซีเยอรมัน นาซีเยอรมันเกิดความเคียดแค้นและนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว แต่ด้วยความโชคดีที่ผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ทำเฉกเช่นเดียวกับผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ไม่เกิดการล้างแค้นกันและกันอีก

โชคร้ายคือ เกิดวงจรความรุนแรง เมื่ออิสราเอลรวมตัวกันเป็นรัฐและปกป้องตัวเอง โดยอ้างว่าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวอีก แต่ตัวเองกลับไปละเมิดอธิปไตยของชนเผ่าอื่น

ในฐานะที่เป็นนักสันติภาพ เราต้องหยุดวงจรของความรุนแรง แม้ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น ความรุนแรงจะดำเนินต่อไป

มันจะดีกว่าถ้าเยอรมันนีแพ้สงครามร้อยเปอร์เซนต์ แต่ในช่วงในสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกชาตินิยมบอกว่า เยอรมันนียังไม่แพ้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เห็นชัดว่าเยอรมันนีแพ้สงคราม ทำให้ถูกโซเวียตแบ่งออกเป็นประเทศเล็กๆ และคนในประเทศใหม่เหล่านั้น ต้องดิ้นรนสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของตัวเอง ทำให้ตัดวงจรความรุนแรงในช่วงนั้นออกไป

อีกประเทศคือ ญี่ปุ่น ที่ตัดวงจรความรุนแรงหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการเบนความสนใจสู่เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเอง

เดิมหลายประเทศมองว่าญี่ปุ่นและเยอรมันนี เป็นประเทศลัทธิคลั่งชาตินิยม แต่หลังจากแพ้สงครามและมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ภาพเหล่านั้นหายไปเกือบหมดแล้ว แต่เสียดายที่หลายประเทศยังคงเกิดความขัดแย้ง ไม่สามารถพัฒนาไปให้ถึงจุดนั้นได้
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขั้นไหน ระหว่างก่อนการเจรจา หรือก่อน–ก่อนการเจรจา การส่งสัญญาณจากภาครัฐกับขบวนการ ฝ่ายไหนจะสามารถนำไปสู่การเจรจาได้จริง?

ขออภัย ผมยังไม่ได้เป็นผู้ชำนาญประเด็นความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ ตอนนี้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มกล้าที่จะพูดเรื่องการกระจายอำนาจมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 – 4 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี

ถ้าดูจากสิ่งที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ ถึงสัญญาณการเจรจา ระหว่างสองฝ่ายดูเหมือนพร้อมที่จะเจรจากัน แต่นั่นยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า เป็นสัญญาณที่บอกว่า สถานการณ์ดีขึ้นแล้วหรือยัง

ส่วนฝ่ายตรงข้ามรัฐ บางส่วนที่อาจจะยังลังเลว่า จะถูกหลอกอีกหรือไม่ อีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า รัฐบาลยังไม่พร้อมรับข้อเสนอ เพื่อการต่อรองจากฝ่ายตรงข้าม

ความแตกต่างกรณีจะเสนอ หรือลังเลในส่วนนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างอาจจะกำลังหาทางออกที่ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด สิ่งที่ต้องคิดคือ การเจรจาจะต้องเตรียมใจว่า ย่อมมีทั้งได้และเสีย
มีทางลัดสู่สันติภาพหรือไม่?

นักการเมืองและนักกิจกรรมมากมายในพื้นที่ความขัดแย้งรอบโลก กำลังมองหาทางลัดสู่สันติภาพ ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่นทางการเมืองที่สูงมาก จะต้องมีผู้นำที่มีความเฉลียวฉลาด มีพรสวรรค์บางอย่าง ถึงจะสามารถนำประเทศสู่สันติภาพ

ทางลัดสู่สันติภาพ จะต้องเตรียมผู้นำที่หลากหลาย และเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกัน ปัญหาคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะขาดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หรือ “ZERO TRUSTED”

การลดความตึงเครียดของทั้งสองฝ่ายกับการสร้างสันติภาพด้วยทฤษฎี GRIT (Gradual Reduction in Tention) คือ การกระทำของทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างความมั่นใจระหว่างกัน ไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมด้วยกัน อาจจะต่างฝ่ายต่างทำ เพื่อลดความตึงเครียดของอีกฝ่าย หลักการนี้เกิดขึ้นในสมัยสงครามเย็นระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งต้องเชื่อมั่นในฝ่ายตรงข้าม

ตัวอย่างสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเริ่มจากรัฐบาลเปิดใจรับการใช้ภาษามลายู ที่เป็นข้อเสนอของฝ่ายตรงข้าม รัฐบาลสามารถแสดงความจริงใจในการร่วมแก้ไขปัญหา และลดความตึงเครียดระหว่างกัน ขณะเดียวกันอีกฝ่ายอาจจะร่วมแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลดการก่อเหตุ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไม่มีการบังคับเพื่อให้อีกฝ่ายเลิกเชื่อในสิ่งที่เขาเชื่อ

กระบวนการนี้ ถูกใช้ในประเทศไอร์แลนด์เหนือ โดยระดับนำของทั้งสองฝ่ายต้องสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันว่า ถ้าอีกฝ่ายลดความตึงเครียดแล้ว อีกฝ่ายจะไม่เพิ่มความตึงเครียดให้กับฝ่ายตรงกันข้าม เพราะนั่นหมายถึงการไม่ยอมรับข้อเสนอเพื่อให้เกิดสันติภาพ
ปัจจุบันสถานการณ์ความขัดแย้งในโลก มีแนวโน้มอย่างไร?

ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1991–2011 จำนวนความขัดแย้งลดลง จำนวนเหยื่อจากความขัดแย้งลดลง ศตวรรษที่แล้วประเทศต่างๆ เน้นการสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ศตรรษนี้เน้นการสานสัมพันธ์ภายในประเทศ

ยกตัวอย่างปัญหาความขัดแย้งในประเทศกัมพูชา ที่มีองค์กรต่างประเทศเข้ามาจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาภายใน ในอนาคตกำลังจะหมดยุคการเข้ามามีส่วนในการจัดการปัญหาในพื้นที่ความขัดแย้งของนานาประเทศในลักษณะนี้ โดยเฉพาะในประเทศเอเชีย จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาของเอเชียเอง

ทั้งนี้ ปัญหาหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มเป็นอย่างนั้น เพราะองค์กรต่างประเทศเหล่านั้น ทำงานสองมาตรฐาน ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ในลิเบียและซีเรีย

แนวโน้มการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในประเทศแถบเอเชีย จะมุ่งเน้นประสบการณ์การสร้างความเข้มแข็งให้บกัประชาชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างพลังอำนาจการต่อรอง เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน

ตัวอย่างการจัดการปัญหาความขัดแย้งในปาปัวตะวันตก จากการทำงานอย่างเข้มแข็งของภาคประชาสังคมปาปัวตะวันตก ทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่
จะสร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันได้อย่างไร?

การสร้างความเชื่อมั่นต่อกัน ต้องทำในหลายระดับ ไม่ใช่จุดเดียว เพราะสังคมมีหลากหลายส่วนมาอยู่ร่วมกัน การแก้ปัญหาเพื่อสร้างสันติภาพ จึงต้องถักทอเป็นตาข่าย

รายงานสำนักข่าวอิศรา: "3 ทฤษฎีสู่เจรจาสันติภาพดับไฟใต้" ประเด็นท้าทายว่าที่รัฐบาลใหม่ป้ายแดง



หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มบุหงารายาและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเวทีความรู้ครั้ง ที่ 1 หัวข้อ “กระบวนการสันติภาพ เริ่มต้นอย่างไร?” ขึ้นที่ มอ.ปัตตานี (คลิกดูกำหนดการ) โดย มี ดร.นอร์เบิร์ท รอปเปอร์ส ผู้อำนวยการมูลนิธิสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟจากเยอรมันมาอภิปรายนำ ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศราได้สรุปบทสนทนาดังกล่าวมาบันทึกไว้อย่างน่าสนใจ กองบรรณาธิการฯ จึงขอนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้ง

"3 ทฤษฎีสู่เจรจาสันติภาพดับไฟใต้" ประเด็นท้าทายว่าที่รัฐบาลใหม่ป้ายแดง
ปรัชญา โต๊ะอิแต
ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา
ที่มา: http://www.isranews.org /south-news/เรื่องเด่น/item/2857-3-ทฤษฎีสู่เจรจาสันติภาพดับไฟใต้-ประเด็น ท้าทายว่าที่รัฐบาลใหม่ป้ายแดง.html

“ความ ขัดแย้งทุกเรื่องทุกที่บนโลกใบนี้ล้วนยุติลงบนโต๊ะเจรจา” เป็นสัจธรรมที่พิสูจน์แล้วและไม่มีใครปฏิเสธ หลายคนจึงเชื่อว่าการจะหยุดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้อย่างยั่งยืน ย่อมหนีไม่พ้นการ “เปิดเจรจา” เช่นกัน

แม้จนถึงปัจจุบันการเจรจาอย่างเป็นทางการเพื่อ “ดับไฟใต้” ยัง ไม่เคยเกิดขึ้นเลยก็ตาม (ถึงจะมีการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการหลายกลุ่มหลายระดับต่อเนื่องมาตลอด แต่ก็ยังไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานการณ์ในภาพรวม) อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่าคู่ขัดแย้งยังไม่พร้อมเจรจา หวั่นว่าเจรจาไปแล้วจะเสียเปรียบ หรือคิดว่าฝ่ายตนได้เปรียบอยู่จึงยังไม่เจรจา ฯลฯ

แต่กระนั้น การเข้าถึงองค์ความรู้ในเรื่อง “การเจรจาสันติภาพ” ย่อม เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ เนื่องจากในที่สุดสถานการณ์ความขัดแย้งย่อมเดินไปสู่โต๊ะเจรจาดังที่กล่าว แล้ว และการเจรจาที่จะมีขึ้นไม่วันใดวันหนึ่งในอนาคต จักต้องได้รับฉันทานุมัติและมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ (ทั้งจากสถานการณ์และการเจรจาโดยตรง) จึงจะก่อร่างสร้างสันติภาพได้อย่างยั่งยืนสถาพร

หาใช่การเจรจาที่ตกลงกันเฉพาะบุคคลระดับนำของคู่ขัดแย้งแต่อย่างใดไม่...

และนี่คือที่มาของการจัดเวทีความรู้ครั้งที่ 1 เรื่อง “กระบวนการสันติภาพเริ่มต้นอย่างไร?” โดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายในพื้นที่ชายแดนใต้ และกลุ่มบุหงารายา โดยเชิญ ดร.นอร์เบิร์ท รอปเปอร์ส (Dr.Norbert Ropers) นักวิชาการชาวเยอรมัน ผู้อำนวยการมูลนิธิ Berghof Peace Support มาถ่ายทอดความรู้ในแง่ทฤษฎีและประสบการณ์ตรง

ดร.นอร์เบิร์ท ผ่านงานด้านกระบวนการสันติภาพ และการเปลี่ยนถ่ายความขัดแย้งไปสู่สันติภาพในหลายประเทศมาอย่างโชกโชน ทั้งยังทำงานแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเอเชียมาแล้วมากกว่า 10 ปี โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเชิญมาร่วมรับฟัง มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเยาวชนทั้งพุทธและมุสลิมในพื้นที่

๐ แค่หยุดความรุนแรงยังไมใช่ “สันติภาพ”

ดร.นอร์เบิร์ท บรรยายเอาไว้ตอนหนึ่งว่า การเริ่มต้นสร้างสันติภาพจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสันติภาพและความขัด แย้งเสียก่อน จึงค่อยมาเรียนรู้เรื่องกระบวนการ

“คนทั่วไปมักเข้าใจว่าความขัดแย้งต้องเป็นเรื่องของความรุนแรงเท่านั้น แต่ที่จริงความไม่เข้าใจและความเห็นที่แตกต่างกัน หรือแม้แต่มีความต้องการที่แตกต่างกันก็เป็นความขัดแย้งแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในสังคมที่มีทาสกับเจ้าของทาส ในยุคนั้นไม่มีใครเห็นว่าเป็นความขัดแย้ง แต่หากมองในยุคนี้จะพบว่านั่นคือความขัดแย้ง เพราะทั้งสองฝ่ายมีความต้องการที่แตกต่างกัน”

ส่วนคำว่า “สันติภาพ” ซึ่งมักถูกมองว่าตรงกันข้ามกับคำว่า “ความขัดแย้ง” แท้ ที่จริงก็มีมิติที่ต้องพิจารณาเช่นกัน โดย ดร.นอร์เบิร์ท ยกตัวอย่างปัญหาในแคชเมียร์ (เขตปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย) ซึ่งอินเดียส่งกองกำลังของตนเข้าไปอยู่ในพื้นที่เพื่อกดความรุนแรงเอาไว้ และสามารถทำให้ปลอดความรุนแรงได้บางช่วงเวลา ตรงนี้หลายคนเรียกว่า “ความรุนแรงแง่บวก” ซึ่งมักจะถูกอ้างว่าคือ “สันติภาพ” แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เพียงแต่ต่างจาก “ความรุนแรงแง่ลบ” ที่มองเห็นภาพความรุนแรงปรากฏอยู่ต่อหน้าเท่านั้นเอง

“ความรุนแรงแง่บวกมีลักษณะสำคัญคือ มักเกิดจากความแตกต่างของกลุ่มที่มีอัตลักษณ์แต่เป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งพวกเขาต้องการให้สังคมใหญ่ให้ความสำคัญ แต่สังคมใหญ่ก็ส่งกำลังไปกดทับเอาไว้ ความขัดแย้งประเภทนี้หลายพื้นที่ในหลายๆ ประเทศกินเวลานานมากเป็นสิบๆ ปีหรือมากกว่านั้น”

๐ 3 ทฤษฎีเจรจาสู่สันติภาพยั่งยืน

ดร.นอร์เบิร์ท กล่าวต่อว่า มีคำถามเกี่ยวกับความรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนานว่าเมื่อไหร่จะจบลง เมื่อไหร่ถึงจะมีสันติภาพ คำตอบมีอยู่ 3 ทฤษฎีที่อธิบายเรื่องนี้ได้

ทฤษฎีที่หนึ่ง คือ คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายต่างไม่ยอมกัน สู้กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสัญญาณแห่งชัยชนะของแต่ละฝ่าย ต่อมาคู่ขัดแย้งก็จะพบว่าตัวเองไม่มีทางชนะ อยู่ในสถานการณ์ที่มืดมน ก็จะกดดันให้เกิดการเจรจา เช่น สถานการณ์ในซูดานเหนือกับซูดานใต้ เป็นต้น

ทฤษฎีที่สอง คือ หน้าต่างแห่งโอกาส เกิดจากการยอมเปลี่ยนแปลงโดยคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กรณีความขัดแย้งระหว่างอาเจะห์กับอินโดนีเซีย ซึ่งกระบวนการที่ก่อให้เกิดความสำเร็จมาจากการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือโดย องค์กรระหว่างประเทศ

ทฤษฎีที่สาม คือ การได้มาซึ่งสันติภาพที่เกิดจากการรวมตัวกันของคนที่เป็นกลุ่มก้อนซึ่ง ปฏิเสธความรุนแรง จนเกิดภาวะสุกงอม ซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่าในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทยก็มีความพยายามกันอยู่

“แนวทางการสร้างสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการขับเคลื่อนจากหลายระดับ เป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีของทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชน เมื่อมาดูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีคำถามว่าสถานการณ์เดินมาถึงจุดเปลี่ยนของความขัดแย้งหรือยัง หากถึงจุดเปลี่ยนแล้ว ก็จะไปถึงขั้นตอนก่อนการเจรจา ซึ่งอาจหมายถึงสถานการณ์ในสามจังหวัดขณะนี้ จากนั้นจึงจะก้าวสู่ขั้นของการเจรจาจริงๆ และขั้นการตกลงทางการเมือง ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงแค่จุดเริ่มของกระบวนการสันติภาพเท่านั้น ซึ่งในระหว่างทางของกระบวนการมักพบปัญหาเรื่องข้อตกลงที่มีการตีความแตกต่าง กัน ทำให้เกิดความไม่เห็นด้วยในข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งหลังจากนั้นอาจมีความรุนแรงเกิดขึ้นตามมาอีกก็เป็นได้”

๐ ระหว่างทางเจรจาย่อมมีความรุนแรง

ดร.นอร์เบิร์ท ยังได้สรุปแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการที่ทำงานแก้ปัญหาความขัดแย้งในไอร์แลนด์ เหนือว่า ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 10 ข้อ คือ

หนึ่ง ผู้เข้าร่วมกระบวนการต้องรวมถึงคู่ขัดแย้งที่นิยมความรุนแรงด้วย

สอง ต้องยอมรับว่าระหว่างทางของการเจรจาย่อมมีความรุนแรงเกิดขึ้น

สาม จะ ต้องมีการให้และรับในเวลาเดียวกัน กล่าวคือจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน ไม่มีกระบวนการสันติภาพที่ไหนที่แต่ละฝ่ายจะได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด

สี่ ผู้มีอำนาจทั้งสองฝ่ายจะต้องขายความคิดให้กับประชาชนในพื้นที่ขัดแย้งด้วย ไม่ใช่บริหารเองโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ห้า จะต้องบูรณาการกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดให้กลับคืนสู่สังคมโดยปกติได้ ไม่ถูกกล่าวหาหรือตีตราว่าเป็นสาเหตุแห่งความรุนแรง

หก จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอีก แล้วเข้าไปจัดการ ป้องกัน

เจ็ด จะต้องพัฒนาพื้นที่ขัดแย้งในด้านต่างๆ

แปด จะต้องดำรงไว้ในเรื่องความยุติธรรม เพราะเป็นไปไม่ได้ที่สันติภาพจะเกิดขึ้นท่ามกลางความอยุติธรรมที่ยังดำรงอยู่

เก้า จะต้องเฝ้าระวังการใช้ความรุนแรง และปัญหาการเมืองในพื้นที่

สิบ จะต้องใช้เอกลักษณ์ในพื้นที่มาช่วยจัดการปัญหา

๐ “สัญญาณดี” พูดเรื่องกระจายอำนาจ

“จากคำถามที่ว่าตอนนี้มีจุดเปลี่ยนของเหตุการณ์หรือยัง ผมเองอาจมองเห็นภาพได้ไม่ชัดนัก แต่สิ่งที่ปรากฏชัดคือมีการพูดเรื่องการกระจายอำนาจมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และรัฐบาลไทยก็ยินดีที่จะพูดคุยกับคู่กรณีมากกว่าเดิม แต่อีกฝ่ายยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจน อาจเป็นความลังเลที่เกิดจากฝ่ายขบวนการจากบทเรียนในอดีตที่มองว่าโดนหลอกมา ตลอด และฝ่ายขบวนการอาจเชื่อว่ารัฐบาลยังไม่พร้อมรับข้อเสนอก็เป็นได้” ดร.นอร์เบิร์ท กล่าว

แต่กระนั้น นักวิชาการจากเยอรมันผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการสันติภาพ บอกว่า ความลังเลของฝ่ายขบวนการเกิดขึ้นในประเทศที่มีความขัดแย้งอื่นๆ ทั่วโลก ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็เป็นสัญญาณที่น่าสนใจ และต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ข้อเสนอของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะฝ่ายใด จะไม่มีใครได้หรือต้องให้ทั้งหมด

“หลายฝ่ายอาจพยายามค้นหาทางลัดที่จะนำไปสู่สันติภาพ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือฝ่ายการเมืองต้องมีความมุ่งมั่น ต้องมีผู้นำที่ฉลาดเฉลียว มีพรสวรรค์ และเตรียมผู้นำระดับต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ในทุกๆ สถานการณ์ที่เผชิญและในบริบทที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อคู่เจรจาได้ใน ระดับหนึ่ง”

ดร.นอร์เบิร์ท กล่าวทิ้งท้ายเสมือนหนึ่งเป็นความท้าทายต่อว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ป้ายแดง!

************************************************************************************

English version

An expert’s view on peace process
Pratchaya Toh-e-tae
Southern News Center, Isranews Agency
Source: http://www.isranews.org/south-news/เรื่องเด่น/item/2873-An-expert%E2%80%99s-view-on-peace-process.html

“Every conflict can be resolved on the negotiating table”. This is a proven and undeniable truth that several people believe that the bloody conflict in the deep South can be resolved only through negotiations.

Although no formal negotiations have ever been held between all the parties in the conflict in the strife-torn deep South, informal peace talks have been occasionally been held and at different levels in the past several years but without success.

In order to have a better understanding about peace process and how it works, Cross Cultural Foundation which is a non-governmental organization dedicated to human rights promotion and legal counseling recently invited Dr Norbert Ropers, director of Germany’s Berghof Foundation for Peace Support, to give a lecture on the topic: “How to start a peace process” and to share his experience in peace process.

In his lecture, Dr Ropers said that one needs to have a clear understanding of peace and conflict before peace building process can start. He said that most people appeared to have misconception about conflict that it has to do with violence. He noted that conflict is not all about violence, difference in opinions or wishes is also regarded as a conflict.

Peace, he added, is not the opposite of conflict. He cited the Kashmir problem in which the stationing of Indian troops in the region managed to keep violence under checks – a condition several people described as “constructive violence” while a handful claimed as “peace”.

Dr Ropers offered three theories of peace building.

The first theory is about two conflicting parties which are equally obstinate and continue to war against each other with neither side has the prospect of winning. In this case, the doomed situation will compel the two conflicting parties into the negotiating table. A case in point is the conflict in Sudan.

The second theory concerns a window of opportunity when a third party, due to an external factor, steps in to offer a helping hand to negotiate a conflict. A case in point is the conflict between Indonesia and Aceh separatists. Peace was successfully brokered by the international community in the aftermath of a tsunami devastated most of Aceh province.

The third theory is about the unification of people to put pressure on the conflicting parties to come to the negotiating table to end the conflict. In the deep South, there have been attempts by various groups of people in the strife-torn region to unite together with enough pressure to push for peace talks.

From the experience of peace process in Northern Ireland, Dr. Ropers outlined a number of factors before the beginning of peace process. The factors include: the peace process must involve the parties which are prone to violence; all parties must accept that violence can take place in the course of peace talks; the conflicting parties must be willing to give and take; the victims of the conflict must be rehabilitated; peace cannot be attained without justice; conflict solution must involve people who are caught in the conflict.

Asked whether he has seen any turning point regarding the situation in the deep South, Dr Ropers admitted he had not seen any clear picture yet. However, he pointed out that talk about decentralization from the government side was a good sign but there is no clear response from the “other side” yet.