วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Berapa Lama Umur Kekuasaan Penguasa Arab?



Rabu, 02/02/2011 15:41

Muhammad Hosni Mubarak

Mammad Ḥosnī Sayyid Mubārak, lahir 4 May,1928, sekarang merupakan presiden ke empat Republik Arab Mesir. Mubarak menjadi Wakil Presiden tahun 1975, dan menggantikan Presiden Anwar Sadat yang terbunuh, 14 Oktober, 1981. Jadi Mubarak menjadi Presiden Mesir sudah 30 tahun lebih.

Mubarak adalah seorang perwira angkatan udara, dan menjadi komandan angkatan udara tahun 1975. Pria yang dilahirkan di Kafr-El-Meselha, di propinsi Monufia Mesir, menamatkan pendidikan di bidang militer tahun 1949. Mubarak pernah masuk akademi militer dan menjadi seorang pilot.

Mubarak menikah dengan wanita yang berdarah Wales (Inggris), bernama Susanze, dan mempunyai dua orang anak, Alaa dan Gamal. Nopember 1973, Mubarak diangkat menjadi panglima angkatan udara Mesir. Inilah karir militer Mubarak yang mengantarkannya menjadi Presiden Mesir, sesudah Anwar Sadat.

Mubarak berkuasa selama 30 puluh tahun. Selama berkuasa ia memberlakukan hukum darurat militer. Semuanya aktivitas politik dibatasi. Mubarak menjadi ketua Partai NDP, sejak tahun 1969, partai yang menjadi alat kekuasaan. Presiden Mesir itu berkuasa selama tiga dekade, dan berhasil memiskinkan rakyatnya.

Zein el Abidin Ben Ali

Ben Ali mulai berkuasa sejak tahun 7 Nopember 1987. Ia berkuasa selama lebih 23 tahun. Sesudah berhasil menggulingkan rezim Habib Bourgouiba. Kekuasaan El Abidin penuh dengan kekerasan. Di mana tahun 1990an ketika Gerakan An-Nahdah, yang dipimpin Rashid al Gounushi menang pemilu, kemudian partai itu dibubarkan, dan para pemimpinnya ditangkap dan dipenjara, sebagian dibunuh. Diantara pemimpin ada yang meminta suaka politik diInggris, Rashid Gaounushi, yang sekarang telah kembali ke Tunis.

Isterinya Ben ali, Leila Ben Ali, dulunya seorang penata rambut, dan dinikahi oleh Ben Ali. Leila pernah menjadi Ketua Assosiasi Wanita Arab. Pernikahan Ben Ali dengan Leila mendapatkan tiga orang anak, Nesrine, Halima, dan Mohamed, yang sekarang tinggal di rumah mewah di Perancis. Dengan isteri pertamanya, mempunyai tiga orang anak, yaitu Ghazwa, Dorsaf, dan Cyrine.

Leila Trabelsi, dikabarkan membawa kabur 1.5 ton emas dari bank sentral Tunisia, dan sekarang keluarganya ada di Dubai. Selebihnya, telivisi Tunisia mengabarkan Imed Trabelsi, saudara kandung Leila ditahan, termasuk 33 anggota keluarganya.

Muammar Abu Minyar al-Gaddafi

Muʿammar al-Qadhdhāfī, yang juga dikenal Kolonel Gaddhafi, lahir 7 June 1942, dan menjadi Presiden Libya sejak tahun 1969. Jadi Qaddhafi sudah berkuasa hampir 41 tahun. Sungguh sangat luar biasa Qaddhafie berkuasa dalam kurun waktu yang sangat panjang.

Tahun 1972, pernah menerbitkan sebuah buku, "Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya" or "Brotherly Leader and Guide of the Revolution". Isi buku itu tak lain, berupa ajaran sosialisme yang dipoles-poles dengan nasionalisme dan Islam, yang mendasari seluruh kebijakan politik selama berkuasa di Libya.

Gaddhafi yang dilahirkan dari keluarga Badui itu, waktu muda ia sudah menjadi perwira angkatan udara, dan mempunyai hubungan dekat dengan Presiden Gamal Abdel Nasser, yang sama mempunyai pandangna sosialis. Gaddhafi mengambil bagian dalam perang di Terusan Suez melawan Israel tahun 1956.

Gaddhafi melakukan kudeta pada 1 September 1969, di mana ia memimpin sekelompok kecil perwira muda, yang kemudian melakukan kudeta terhadap Raja Idris, saat itu Idris sedang berobat ke Turki. Kemudian, Gaddhafi membentuk Dewan Revolusi, yang terdiri para perwira muda, yang umumnya mendapatkan pendidikan militer dari Barat. Gaddhfi yang selanjutnya memimpin Dewan Revolusi, dan kemudian kekuasaannya itu disebut sebagai kekuasaan 'Rakyat'. Gaddhafi yang mencampurkan ideologi sosialisme, arabisme, dan Islam.

Gaddhafi membuat buku 'Hijau' yang isisnya berupa pemikiran Mao, yang kemudian menjadi dasar philosofi negara Libya, tahun 1975.

Gaddhafi menikah dengan Safia Farkash, dan mempunyai delapan anak, tujuh laki-laki. Anak terutanya, Mohammad al-Gaddhafi, Saif al-Islam, Saadi Gaddhafi, Mutasim Gaddhafi, Hannibal Gaddhafie, Saif al-Arab, Khamis, dan anak perempuan Aysha al-Gaddhafi.

Semua anaknya mempunyai berbagai kedudukan yang penting di dalam pemerintahan Libya. Pemimipin Libya it belum lama ini, menjadi Ketua Uni Afrika, dan sekarang sudah berganti.

Ali Abdullah Saleh

Ali Abdullah Saleh, lahri 21 Maret 1946, yang menjadi Presiden pertama Republik Yaman, sejak tahun 1978. Maka, Ali Abdullah Saleh sudah berkuasa selama 32 tahun. Sebuah kekuasaan yang sudah berumur tiga dekade lebih.

Ali Abdullah Shaleh menggusur Presiden Al Ghashmi, 24 Juni 1978, dan membunuhnya dalam sebuah kudeta. Ali juga memerintah pengikutnya untuk mengekusi 30 pejabat lainnya, yang menjadi pengikut Al Gashmi.

Musim panas terjadi perang dengan Selatan, yang menewaskan 25.000 penduduk Selatan, Desember 1994, parlemen Yaman mengesahkan, bagi pemberian pangkat marsekal udara bagi Ali Abdullah Saleh. Ini merupakan gelar tertinggi yang dalam militer yang disandang Ali. Ali menyatakan perang dengan kelompok Syiah Houti, tahun 2004, sampai sekarang. Akibat perang ini ribuan orang tewas.

Raja Hasan II Maroko

Raja Hasan Kedua, penguasa Kerajaan Maroko meninggal dunia setelah bertakhta di singgasana Maroko selama 38 tahun. Raja Hasan Kedua dilahirkan pada tahun 1929. Lima tahun setelah Maroko berhasil meraih kemerdekaannya, yaitu pada tahun 1961, Raja Hasan II dilantik menjadi penguasa Maroko.

Selama masa pemerintahannya, Raja Hasan II memerintah dengan cara diktator. Segala macam penentangan dan kritikan yang dialamatkan kepadanya akan langsung dijawab dengan represi. Raja Hasan II juga termasuk pemimpin Arab yang mempelopori perdamaian dengan Rezim Israel. Ia bahkan termasuk pemimpin yang menjadi mediator perundingan antara Tel Aviv dan sejumlah negara Arab. Sikap inilah yang menimbulkan banyak ketidakpuasan di kalangan rakyat Maroko sendiri. Raja Hasan II berkali-kali menjadi sasaran pembunuhan, akan tetapi selalu berhasil lolos dari percobaan pembunuhan itu.

Sepeninggal Raja Hasan II, Maroko diperintah oleh putra Hasan II, yaitu Muhamad Keenam yang masih berusia 36 tahun. Raja Muhamad VI termasuk pemimpin Arab yang berusia sangat muda belia, saat menggantikan Raja Hasan.

Abdelaziz Bouteflika

Abdulaziz Bouteflika lahir 2 Maret 2937, di Oujda, Maroko. Bouteflika belajar di Aljazair, dan kemudian bergabung dengan, "Front de Liberartion Nationale" (FLN), di tahun 1956, saat masih berumur 19 tahun. Waktu itu ia sudah mengontrol perbatasan Aljazair dengan Maroko. Ia mempunyai hubungan yang sangat erat dengan tokoh kemerdekaan Aljazair, Houari Boumedienne. Tahun 1999, Bouteflika menjadi Presiden Aljazair, sesudah terjadinya pembunuhan terhadap Mohammed Boudiaf. Bouteflika sudah berkuasa hampir 20 tahun.

Raja Fahd ibn Abdul Aziz Al-Saud

Fahd bin Abdul Aziz lahir tahun 1923, dan meninggal 1 Oktober 2005, dan digantikan oleh Raja Abdullah. Raja Fahd mempunyai 37 orang anak. Raja Fahd menjadi raja Saudi, selepas Raja Khalid meninggal pada 13 Juni 19982.

Fahd dilantik menjadi Putera Mahkota apabila Raja Khalid menaiki takhta selepas raja terdahulu yaitu Raja Faisal dibunuh pada tahun 1975.

Raja Fahd terkena stroke pada tahun 1995 dan tidak dapat menjalankan kewajibannya untuk memerintah kerajaan Saudi. Sekarang adik tirinya, Raja Abdullah yang menggantikan Raja Fahd, yang nampaknya mempunyai lebih dekat AS, dan menjadi sekutu utama AS. Inilah para penguasa Arab, yang sekarang ini diambang keruntuhan, akibat gelombang ketidakpuasana rakyatnya.

จากตูนิเซียสู่อียิปต์ : ปรากฏการณ์ "โดมิโน" ล้มทับ "เผด็จการ" โลกอาหรับ


ไม่ เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่า การตัดสินใจจุดไฟเผาตัวเองของเด็กหนุ่มว่างงานชาวตูนิเซียวัย 26 ปีรายหนึ่ง ที่มีนามว่า "โมฮาเหม็ด บูอาซีซี" เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อเป็นการประท้วงเจ้าหน้าที่ของทางการตูนิเซียในเมืองซิดี บูซิดทางตอนกลางของประเทศ ที่พยายามขัดขวางไม่ให้เขานำผัก และผลไม้มาจำหน่ายที่ข้างถนน จะกลายเป็น "เชื้อไฟ" ที่ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นของประชาชนชาวตูนิเซียตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศในเวลาต่อมา เพื่อขับไล่รัฐบาลตูนิเซียของประธานาธิบดีจอมเผด็จการอย่างซิเน เอล​ อบิดีน เบน อาลี ที่ปกครองประเทศมานานกว่า 23 ปี นับตั้งแต่ปี 1987...

การประท้วงขับไล่รัฐบาลของพลังประชาชนในตูนิเซียซึ่งสร้างความตื่นตะลึง ไปทั่วโลกอาหรับ ทวีปแอฟริกา และประชาคมโลกครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามโดยใช้ระยะเวลาเพียง 28 วันเท่านั้น หลังจากที่จอมเผด็จการเบน อาลี วัย 74 ปียอมสละเก้าอี้ผู้นำประเทศ และเดินทางไปลี้ภัยยังซาอุดีอาระเบีย ประเทศซึ่งเปรียบเสมือน "พี่ใหญ่แห่งโลกอาหรับ" ในวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่มีทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านเข้าร่วมเพื่อช่วยกันบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว ก่อนจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายในปีนี้

ชัยชนะอย่างงดงามของพลังประชาชนในตูนิเซียที่ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของ มวลชนมากกว่า 100 ชีวิต ถือเป็น "แรงบันดาลใจชั้นดี" ให้แก่ประชาชนในหลายประเทศของโลกอาหรับ ที่ต่างประสบชะตากรรมที่ไม่ต่างกันมากนัก จากการถูกปกครองแบบกดขี่โดยรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมายาวนาน


ในช่วงเวลาไล่เลี่ย กันหลังการลุกฮือของพลังมวลชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลในตูนิเซีย ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ที่คล้ายคลึงกันในหลายประเทศทั้งในแถบตอนเหนือของทวีป แอฟริกา และในภูมิภาคตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็นที่อียิปต์, เยเมน, แอลจีเรีย, จอร์แดน, มอริเทเนีย, ซาอุดีอาระเบีย, โอมาน, ซูดาน, ลิเบีย และโมร็อคโค โดยในจำนวนนี้มีหลายประเทศ เช่น อียิปต์, เยเมน, แอลจีเรีย และจอร์แดนเกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเป็นวงกว้างขยายตัวไปทั่วประเทศ

แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด ดูจะเป็นสถานการณ์การประท้วงในอียิปต์ อดีตชาติที่เคยได้ชื่อว่าเป็น "พี่เบิ้ม" แห่งโลกอาหรับ ที่กลุ่มเยาวชน "April 6 Youth Movement" เป็นแกนนำปลุกระดมประชาชนจากหลากหลายสาขาอาชีพออกมาประท้วงตามท้องถนนเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา จากจำนวนผู้ประท้วงแค่หลักร้อยในกรุงไคโรในช่วงแรก ได้ขยายเป็นพลังมวลชนจำนวนหลายหมื่นคนทั่วประเทศภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ วัน ถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นใน "แดนมัมมี่" นับตั้งแต่ปี 1977 เป็นต้นมา


และแน่นอนว่าการ ประท้วงในอียิปต์ได้พุ่งเป้าของการโจมตีไปที่ตัวประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ผู้นำวัย 82 ปีโดยตรง โดยกลุ่มผู้ประท้วงที่มีจำนวนมากจนน่าตกใจต่างพากันเรียกร้องให้ผู้นำของตน ซึ่งครองอำนาจแบบผูกขาดมาตั้งแต่ปี 1981 ก้าวลงจากอำนาจ เพื่อปูทางไปสู่การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ทั้งการแก้ปัญหาการว่างงาน ราคาอาหารที่พุ่งสูง การคอรัปชัน และระบบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

การตัดสินใจของ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้การนำของมูบารัคที่ให้มีการปราบปรามการประท้วงของ ประชาชนอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้กรุงไคโรเปลี่ยนสภาพจากเมืองหลวงกลายเป็น "สมรภูมิเลือด" ที่มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 160 คน บาดเจ็บอีกเกือบ 5,000 คน และยังมีผู้ถูกจับกุมไปอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย นอกจากนั้น มูบารัคยังสั่งการให้มีการบล็อกการใช้อินเทอร์เน็ต และการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ รวมถึงตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ หวังสยบกลุ่มผู้ประท้วงให้อยู่หมัด เพื่อที่ตนเองจะได้ครองอำนาจต่อไป

อย่าง ไรก็ดี เมื่อสถานการณ์ในอียิปต์ดูจะเลวร้ายลงทุกขณะ นักวิเคราะห์จากหลายสำนักต่างพากันฟันธงลงความเห็นว่าประธานาธิบดีมูบารัค ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีความเจนจัดที่สุดคนหนึ่งของโลกอาหรับ และมีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวราวกับเป็น "จิ้งจอกเฒ่า" คงเหลือตัวเลือกไม่มากนักให้ตัดสินใจ และดูเหมือน "2 ทางเลือก" ที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุดในเวลานี้สำหรับมูบารัค คงหนีไม่พ้น การดันทุรังอยู่ในอำนาจต่อไปพร้อมกับเพิ่มระดับความรุนแรงในการปราบปรามพลัง มวลชนให้ราบคาบ หรือไม่ก็ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัยไปยังต่างประเทศ

การ ออกมาแถลงที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ของฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (31) ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา "ต้องการเห็น" ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในอียิปต์ ถูกมองว่า เป็นการส่งสัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุดของสหรัฐฯ ต่อผู้นำอียิปต์ ให้ยอมลงจากอำนาจตาม "มติมหาชน" และยังถูกวิเคราะห์ว่า ทางการสหรัฐฯ คงประเมินแล้วว่า พวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้ "ผู้นำมือเปื้อนเลือด" อย่างมูบารัค ให้ช่วยทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" ในการเจรจาสันติภาพตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อีกต่อไป

แน่ นอนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์กำลังดำเนินมาถึง "จุดไคลแม็กซ์" และน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในไม่ช้านี้ว่าในที่สุดแล้ว มูบารัคจะอยู่หรือไป แต่คำถามใหญ่ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยในขณะนี้ คือ "โดมิโนชิ้นต่อไป" จะล้มลง ณ ดินแดนแห่งใดในโลกอาหรับเพราะดูเหมือนในเวลานี้ กระแสของการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ และกระแสต่อต้านคณะผู้ปกครองที่ฉ้อฉลไร้ศักยภาพ ดูจะทวีกำลังรุนแรงมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอาหรับ

จาก การวิเคราะห์ของทีมข่าวต่างประเทศไทยรัฐออนไลน์เห็นว่า ยังพอมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดปรากฏการณ์ของการล้มตามกันแบบโดมิโนของระบอบ เผด็จการในโลกอาหรับขึ้นอีกในอนาคต และดินแดนที่ดูจะมีความเป็นไปได้มากที่สุดเห็นจะเป็น "เยเมน" ในตะวันออกกลาง และ "แอลจีเรีย" ในแอฟริกาเหนือ โดยในกรณีของเยเมนนั้น ถือเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุด และพัฒนาน้อยที่สุดในโลกอาหรับ มีอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วถึงร้อยละ 65 ของประชากร ซ้ำร้ายยังมีเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะใกล้ล่มสลายจากการที่ "น้ำมัน" ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศกำลังจะหมดไปภายในปี 2017 อีกทั้งชาวเยเมนจำนวนมากยังไม่พอใจการบริหารประเทศภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ที่แทบไม่มีผลงานเลยนับตั้งแต่ก้าวขึ้นมาครองอำนาจเมื่อเดือน ต.ค. 1994

ส่วน ในแอลจีเรียนั้น กระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายความมั่งคั่ง ที่ได้จากการขายน้ำมันกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เพราะในทุกวันนี้รายได้กว่า 95 เปอร์เซ็นต์จากการส่งออกน้ำมันกลับไปกระจุกตัวอยู่ในมือของผู้มีอำนาจทางการ เมืองเพียงไม่กี่รายในประเทศ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 35 ล้านคนยังคงทุกข์ยากกับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแร้นแค้นต่อไป

ด้าน ดร.สราวุฒิ อารีย์ รองผอ.ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ภายในประเทศอียิปต์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่า กลุ่มประชาชน ชาวอียิปต์ไม่พอใจ การปกครองอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ของนายฮอสนีย์ มูบารัค วัย 82 ปี ประธานาธิบดีประเทศอียิปต์ ที่ถูกกล่าวหาว่า มีการกดขี่ข่มแหง

ทั้ง นี้ เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจาก การจลาจลที่ประเทศตูนีเซีย ซึ่งทำใ ห้เกิดการโค่นล้มอำนาจ ของประธานาธิบดีประเทศตูนีเซีย ซึ่งก็ครองอำนาจในประเทศยาวนานถึง 23 ปี ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพียงในช่วงข้ามคืน แล้วเหตุการณ์ในตูนิเซียจึงกลายมาเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน คือมีผู้นำที่มีอำนาจปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน​ จนทำให้เกิดปัญหาสิทธิเสรีภาพ ปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน และปัญหาข้าวยากหมากแพง เพราะฉะนั้นก็กลายเป็นว่า หลายประเทศก็ลุกฮือขึ้นมา ตั้งแต่ประเทศจอร์แดน, เยเมน และแอลจีเรียไปจนถึงอียิปต์

ดร.สรา วุฒิ ให้ความเห็นอีกว่า อียิปต์เป็นประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุด หลังจากตูนีเซีย เพราะอียิปต์ถือเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรมากที่สุดในโลกประเทศอหรับ ประมาณถึง 78-79 ล้านคน ปัญหาหลักในอียิปต์ที่ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่ประธานาธิบดี ดร.สราวุฒิ ใช้คำว่า "ปัญหาขนมปัง และปัญหาสิทธิเสรีภาพ" ขณะที่ลักษณะเด่นที่สำคัญทำให้มีการลุกฮือของประชาชน ก็คือไม่มีแกนนำ ประชาชนตัดสินใจลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการเอง ส่วนสิ่งสำคัญอีกอย่าง ก็คือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศก็ถือเป็นโครงข่ายสำคัญ มีบทบาทสูงมากในการรวมตัวของประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาล

ทั้งนี้ ถ้ากลับไปดูการโค่นล้มอำนาจปกครองในประเทศตูนิเซีย จะเห็นว่าชนชั้นที่เป็นหัวหอกในการล้มอำนาจการปกครอง เป็นชนชั้นตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงชนชั้นสูง ซึ่งจะแตกต่างจากอียิปต์ที่เป็นชนชั้นกลางไปจนถึงระดับล่าง อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน นั่นคือกองทัพ ประเทศตูนีเซีย ค่อนข้างมีอิสระในการดำเนินการ แต่ในอียิปต์ตัวประธานาธิบดี มีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับกองทัพ ทำให้การโค่นล้ม นายฮอสนีย์ มูบารัค ประธานาธิบดีอียิปต์ วัย 82 ปี ของประชาชนจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการชุมนุมผ่านมา 6-7 วันแล้ว ยังไม่มีสัญญาณหรือท่าทีการลงจากอำนาจออกมาจากตัวประธานาธิบดี

นอก จากนี้ การที่จะรักษาอำนาจปกครอง หรือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประธานาธิบดีในประเทศอียิปต์ได้หรือไม่ คำถามนี้ยอมรับว่า ตอบยาก ขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง อย่างแรก คือท่าทีของประเทศมหาอำนาจ และประชาคมโลก ว่าจะมีท่าทีอย่างไร กับผู้นำของอียิปต์ เพราะประเทศนี้ ถือเป็นพันธ์มิตรที่สำคัญของทางสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมาสหรัฐฯให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีบทบาทในการเจรจาปัญหา ปาเลสไตน์ หากประเทศมหาอำนาจกดดันประธานาธิบดีอียิปต์มาก ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจ
ส่วน อีกข้อเป็นเรื่องการรวมกลุ่มของผู้ที่ชุมนุมประท้วงว่าจะรวมกลุ่มกันหนาแน่น และมีปริมาณมากเพียงใด อย่างที่ทราบว่ารัฐบาลประเทศอียิปต์ใช้กำลังทหารจัดการกับประชาชน ถ้าประชาชนยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ก็จะเกิดการชุมนุมต่อสู้ที่ยืดเยื้อก็จะเป็นแรงกดดันประธานาธิบดีอียิปต์ให้ ตัดสินใจลงจากตำแหน่ง

ปัจจัยสุดท้าย คือการตัดสินใจของฝ่ายความมั่นคงและกองทัพของประเทศ ถ้าเหตุการณ์ความรุนแรงยืดเยื้อและบานปลาย บ้านเมืองเสียหาย จนทำให้กลายเป็น รัฐที่ล้มเหลว ถ้าไม่มีทางเลือกและประเทศจะไปจนถึงลักษณะนั้น ก็คิดว่า กองทัพอาจต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง ตัวประธานาธิบดีกับระบอบการปกครองประเทศ หรือจะเลือกความสงบสุขและประชาชน ซึ่งหากตัดสินใจแบบหลัง ผมคิดว่านั่นจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

สำหรับความคิดเห็นของนัก วิชาการ และนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่ามันจะยืดเยื้อและไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร เนื่องจากจนถึงขณะนี้เอง ยังไม่พบว่ามีสัญญาณที่มีนัยสำคัญถูกส่งออกมา แต่เหตุการณ์ทั้งหมดจะต้องจบลงแน่ ไม่ทางใดทางหนึ่ง จบในลักษณะใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนอย่างหนัก หรือว่าจะจบลงลักษณะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศ แต่วิธีการอย่างหนึ่งที่ประชาคมโลกอยากที่จะเห็น ก็คือการเจรจาในการวางอนาคตประเทศร่วมกันระหว่างผู้นำกับประชาชนที่ประท้วง ว่าประเทศอียิปต์ควรเดินไปในทิศทางไหน เป็นไปได้ว่า นายฮอสนี สุดท้ายอาจต้องลงจากอำนาจทางการเมืองแน่ แต่อาจจะลงมาหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่ในปีนี้แล้ว

ขณะที่ทางด้าน ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู กล่าวว่า ปัญหาการต่อต้านโค่นล้มอำนาจผู้นำของประเทศอียิปต์ เกิดจากความไม่พอใจของประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่หมักหมม มาอย่างยาวนาน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ยอมรับว่า ปัญหานี้ยังไม่สามารถมองออกได้ว่าจะจบลง หรือเปลี่ยนผ่านไปได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับปฏิกริยาของผู้นำที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วก็ขึ้นอยู่กับถ้าผู้ นำประเทศต้องลงจากอำนาจจริงๆ แล้ว กลุ่มใดจะขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองต่อ

ทั้ง นี้ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ระบุว่า สำหรับสหรัฐฯ เองก็คงมีความกังวลในปัญหาของประเทศอียิปต์ เพราะมีผลประโยชน์ระหว่างกันอยู่ อาทิ กรณีคลองสุเอช ซึ่งเป็นเส้นทางส่งสินค้า น้ำมัน การทำสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล ฉะนั้นสหรัฐฯ ก็ต้องการให้รัฐบาลของอียิปต์ที่ขึ้นมามีอำนาจใหม่ถ้ารัฐบาลชุดเก่าเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็ให้สานต่อนโยบายเดิมที่มีอยู่ แต่การแสดงออกของสหรัฐฯ ก็ทำได้เพียงดูท่าทีและออกมาขอให้อียิปต์สงบโดยเร็ว ซึ่งก็คงไม่แตกต่างอะไรกับประเทศไทย.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์