วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มุฟตีอียิปต์แนะไทยต้องพร้อม 5 มาตรการรับกฎหมายอิสลาม

สำนักกฎหมายชาฟิอี เหมาะกับไทย มุฟตีอียิปต์แนะไทยต้องพร้อม 5 มาตรการรับ กฎหมายอิสลาม










ชัยค์ ศ. ดร.อาลีญุมอะฮ์ มูฮัมหมัด อับดุล วาฮับ
ผู้ชี้ขาดทางศาสนาอิสลามแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ แนะให้ไทยจัดการเลือกสรรคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายอิสลามพร้อมจัดฝึกเตรียมผู้ พิพากษารองรับในอนาคต ชี้สำนักกฎหมายชาฟีอีเหมาะที่จะนำมาใช้ในพื้นที่ จากการบรรยายพิเศษเรื่อง “การใช้กฎหมายอิสลามในประเทศอียิปต์” ในโอกาสเดินทางมาเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ หอประชุมสำนักงานอธิการบดี ม.อ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมงานหลากหลายอาชีพเป็นจำนวนมาก
ดร.อาลี โกมาร์ กล่าวว่า 5 มาตรการสำคัญที่จำเป็นคือ

1)การตั้งคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายออกมาว่าด้วยครอบครัวและมรดกที่สอดคล้อง กับกฎหมายอิสลาม คณะกรรมาธิการต้องรู้เข้าใจที่มาที่ไปของกฎหมายอิสลามและกฎหมายปัจจุบัน ศึกษาจากประเทศที่นำมาใช้แล้วและนำมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมกับเมืองไทย เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน

2)ผู้พิพากษา ต้องเตรียมผู้พิพากษาให้พร้อม ฝึกให้สามารถใช้กฎหมายอิสลามได้เป็นอย่างดี เข้าใจเจตนารมณ์ สิทธิมนุษยชน ผลประโยชน์ของสาธารณชน ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้โดยไม่ต้องรอให้รัฐบาลรับรองกฎหมายอก่อน เมื่อเขารับรองแล้วยังไม่มีผู้พิพากษาก็ทำอะไรๆไม่ได้

3)การวางมาตรการ ทำอย่างไรจึงจะไม่ขัดแย้งกับกฎหมายทั่วไปและนำมาใช้ได้สะดวก ซึ่งในอียิปต์เองก็ไม่ได้ขัดแย้งกับกฎหมายทั่วไป

4)วิธีพิจารณาความ เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกฎหมายครอบครัวและมรดกและกฎมายทั่วไปในไทย ต้องมีที่มาที่ไปชัดเจน อธิบายได้ว่าทำไมต้องใช้กฎหมายนี้ทั้งที่กฎมายอื่นก็นพมาใช้ได้เพื่อเกิด ประโยชน์สูสุดแก่ประชาชน ผู้พิพากษาและทนายความต้อง
เข้าใจในสิ่งที่ทำ เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของกฎหมาย จะช่วยในการดำเนินคดีและลดความขัดแย้งที่มีในศาสนาลงได้ และ

5)ผลของการใช้กฎหมาย หลังจากเขียน อธิบาย นำมาตัดสินแล้วจำเป็นต้องมีการสร้างบริบทเกี่ยวกับกฎหมายขึ้นเพื่อให้ สถานภาพของกฎหมายดำรงอยู่ในสังคม



จากการที่อียิปต์เป็นประเทศมุสลิม มีการใช้กฎหมายอิสลามมากว่าร้อยปี ชัยค์ ศ. ดร.อาลีญุมอะฮ์ มูฮัมหมัด อับดุล วาฮับ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำงานหนัก
“ประสบการณ์ของอียิปต์เมื่อต้องการออกกฎหมายอิสลามได้ขอความอนุเคราะห์จาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้จากต่างประเทศแลในประเทศมาช่วยกันร่างกฎหมาย โดยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ในอิรักก็ทำเช่นนี้ ในไทยจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เวลาเหมือนคมดาบหากท่านไม่ตัดมัน มันก็จะตัดท่าน ต้องทำตามหลักวิชาการ เลือกคนทีมีความรู้อย่างแท้จริง นำประสบการณ์ของผู้อื่นมาประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์”

ท่านยังได้บอกต่อว่า ในอิสลามมีสำนักกฎมายกว่า 80 สำนัก และได้รับการยอมรับมากที่สุด 4 คือ ชาฟิอี มาลิกี ฮานาฟี ฮัมบาลี ซึงสำนักกฎหมายชาฟีอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ในอียิปต์ได้ใช้กฎหมายของสำนักชาฟีอีเช่นกันแต่ไม่ได้จำกัดตัวเองเพราะมี ความเห็นหลากหลาย บางเรื่องของชาฟีอีก็ไม่เป็นที่เห็นด้วย จึงเอาของสำนักอื่นมาผสมกันและทำให้มีความใกล้ชิดระหว่างสำนักกฎหมายอีกด้วย ต้องดูด้วยว่าครอบคลุมไปยังเรื่องใดบ้าง ซึ่งในอียิปต์จะคลุมไปถึงการบริจาค การกุศล การสั่งเสียและการสืบทอดมรดก

สำหรับประเทศไทยท่านแนะนำว่า สำนักกฎหมายชาฟิอี น่าจะเหมาะสม เนื่องจากเป็นที่แพร่หลายมานับศตวรรษในดินแดนมลายูและเอเชียอาคเนย์ มีอิทธิพลในการทำกฎหมาย น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณามากที่สุด และไม่จำเป็นต้องใช้ของชาฟิอีอย่างเดียว เมื่อสำนักกฎหมายอื่นมีสิ่งที่เหมาะสมก็ค่อยนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากัน



นอกจากนั้นท่านยังได้ชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้และคาดหวังถึง ประโยชน์ที่จะตามมา “การจัดทำร่างกฎหมายอิสลามของรัฐบาลไทยมีความเหมาะสม หากรัฐบาลต้องพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของพี่น้องมุสลิม เป็นเรื่องที่น่าขอบคุณ เมื่อคณะกรรมาธิการที่เป็นมุสลิมได้ยกร่างและพิจารณากฎหมายครอบครัวและมรดก นำเสนอและได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล เมื่อมีการบังคับใช้ต้องมีความเข้าใจกัน

การใช้กฎหมายอิสลามจะทำให้เกิดความสงบร่มเย็น สร้างความสมานฉันท์ เกิดสังคมที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์ มีความปลอดภัยทางสังคม เป็นประโยชน์ต่อมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเพราะทุกคนต้องการสังคมที่ ปลอดภัยและมั่งคงเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้คนมีความไว้วางใจกันและมีวิถีชีวิตที่สอด คล้องกัน จำเป็นต้องสร้างสันติภาพให้เกิด”

“อียิปต์พร้อมช่วยเหลือทุกวิถีทางในเรื่องนี้ตามที่ทางไทยได้ขอไปเพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในดินแดนนี้ เพราะเราต่างเป็นพี่น้องกัน” เป็นสิ่งที่ท่านย้ำส่งท้าย - สำนักข่าวมุสลิมไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น